Home > Long Stay Project Long Stay Project หน้าแรก สารบ
Long Stay Project
Long Stay Project
หน้าแรก
สารบัญ
Chapter หน้า
Chapter 1 Philosophy
ปรัชญาของ Long Stay คืออะไร?
ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจในเรื่องของการท่องเที่ยว อะไรคือปรัชญาของการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวคือการค้นหา การแสวงหา การผจญภัย ความอยากรู้อยากเห็น การหาประสบการณ์ใหม่ การแสวงหาสิ่งที่ท้าทาย การพักผ่อน ซึ่งปรัชญาการท่องเที่ยวก็แปรเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัยจากในอดีตการท่องเที่ยวเหมือนการผจญภัย การค้นหาโลกใหม่ แต่ในโลกยุคปัจจุบันเราสามารถเห็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกได้ในโทรทัศน์ หรือ Internet ได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นปรัชญาของการท่องเที่ยวของคนในยุคปัจจุบันจึงเหมือนการที่ได้สัมผัสการได้ไปเห็นของจริง การได้ไปอยู่ในสถานที่จริง บรรยากาศจริง
คำถามที่เกิดขึ้น ก็คือ อะไรละที่จะเป็นสิ่งดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวหรือผู้คนที่ต่างวัฒนธรรม ต่างภาษา อยู่นานขึ้น ปรัชญาของ Long Stay คืออะไร การค้นหาที่ยังไม่สิ้นสุด? แรงปรารถนาที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง? ในแต่ละชาติ แต่ละวัฒนธรรมก็มีความรู้สึก ความนึกคิดแตกต่างกันออกไป แต่ละช่วงอายุ แต่ละวัย และต่างเพศ ก็จะมีความแตกต่างกัน สิ่งหนึ่งถ้าพูดโดยรวมแล้ว การอยากอยู่นานขึ้น น่าจะมาจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น มีความสุขใจ มีความสบายใจ มีความสามารถที่จะอยู่ได้ (Affordable) มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ (Sense of Belonging) ถ้าเปรียบเทียบประเทศไทยเป็นผู้หญิง และเปรียบเทียบนักท่องเที่ยวเป็นผู้ชาย อะไรที่จะทำให้ผู้ชายคนหนึ่งอยากอยู่กับผู้หญิงคนนี้นาน ๆ จนอาจถึงขั้นหลงรักและขอแต่งงานด้วย สิ่งนั้นคือแรงดึงดูดใจ คือเสน่ห์ คือรูปแบบบางอย่างที่ผู้หญิงคนนั้นมี ทำให้ผู้ชายคนนั้นอยู่แล้วมีความสุขกาย สุขใจ สบายใจ
เราคนไทยอยากดึงดูดใจแบบไหน? พัฒน์พงษ์ , พัทยา Sex ราคาถูก , ประเทศที่กฎระเบียบหย่อนยาน หรือประเทศที่มีเสน่ห์แบบไทย ๆ ธรรมชาติที่สวยงาม ผู้คนที่อบอุ่น เป็นมิตร มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เปี่ยมล้นไปด้วยวัฒนธรรมที่หลายหลาก ถ้าให้เลือกเราอยากให้นักท่องเที่ยวมองเราแบบไหน และในโลกยุคปัจจุบันที่เราต้องการรายได้จากนักท่องเที่ยวเราต้องการเงินจากนักท่องเที่ยวแบบไหน? นักท่องเที่ยวแบบแสวงหา Sex ราคาถูก มีแต่จะทำให้สังคมเราเสื่อมทรามลง ก่อเกิดปัญหาสังคมมากมาย อีกทั้งทำให้เยาวชนหรือคนรุ่นต่อไปยึดถือเป็นแบบอย่าง หรือนักท่องเที่ยวที่ชื่นชมเราไม่เพียงแค่รูปโฉมภายนอก แต่มองลึกลงไปถึงคุณค่าทางจิตใจของคนไทย ความโอบอ้อมอารี ความเคารพ นบนอบต่อผู้อาวุโส ความเป็นมิตร สังคมที่อบอุ่นโดยเฉพาะสังคมในชนบทที่ยังคงความเป็นไทยไว้
การประกาศให้ชนชาวโลกรับรู้ถึงคุณค่าที่แท้จริงของความเป็นไทยภายใต้คำนิยมว่า
��Beautiful THAI Beautiful MIND��
จากแนวโน้มของประชากรโลกพบว่าตั้งแต่ศตวรรษที่ 21 เริ่มต้นขึ้น ประชากรโลกที่เป็นผู้สูงอายุจะมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก สืบเนื่องจากกลุ่มประชากรที่เกิดขึ้นในช่วง Baby boom ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของโลกได้เข้าสู่ช่วงสูงอายุทำให้ประชากรโลกที่อายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนสูงเกือบร้อยละ 40 ของประชากรโลกทั้งหมด ประกอบกับวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าขึ้น ทำให้ประชากรโลกมีอายุขัยเฉลี่ยที่สูงขึ้น และยังมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้นอีกด้วย ในขณะที่ค่าครองชีพในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะมีอัตราค่อนข้างสูง บางประเทศจึงมีแนวคิดที่จะส่งเสริมให้ผู้สูงอายุของตนออกไปใช้ชีวิตในต่างประเทศที่มีค่าครองชีพที่เหมาะสม และยังคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดี
นอกจากนี้ในปัจจุบัน ประชากรของโลกมีช่วงอายุการทำงานที่ลดลง มีการเกษียณอายุการทำงานเร็วกว่าในอดีต ทำให้สามารถใช้เวลาในการเดินทางท่องเที่ยวได้มากขึ้น ผู้เกษียณอายุการทำงานแล้วจะมีสวัสดิการหรือเงินบำนาญที่รัฐบาลของตนจ่ายให้เป็นรายเดือน อันเป็นรายได้ที่มั่นคง นอกจากนี้ยังมีเงินเก็บสะสมส่วนตัว ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีกำลังในการใช้จ่ายสูง และสามารถเข้ามาพำนักในระยะยาวได้
��Outside-in Perspective��
2.1 ลักษณะของตลาด
บุคคลที่จะกลายมาเป็นนักท่องเที่ยวพำนักระยะยาวนั้น โดยทั่วไปแล้วมักจะผ่านขั้นตอนต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 : เป็นนักท่องเที่ยวธรรมดา (Tourist) ใช้เวลาในการท่องเที่ยวระหว่าง 7-10 วัน
ขั้นที่ 2 : เป็นนักท่องเที่ยวธรรมดาที่ใช้เวลายาวนานขึ้น (Stay-longer) ใช้เวลานานขึ้นเป็น 2-3 สัปดาห์
ขั้นที่ 3 : เป็นนักท่องเที่ยวพำนักระยะยาว (Long Stay) อาจจะพำนักนาน 1 เดือน ถึง 6 เดือน
ขั้นที่ 4 : เป็นผู้อยู่อาศัยถาวร (Permanent Stay) ใช้เวลาพำนักเป็นปี โดยระหว่างพำนักอยู่อาจเดินทางกลับประเทศตนบ้าง
ตลาดชาวตะวันตกไม่ว่าจะเป็น แสกนดิเนเวีย ยุโรปตะวันตก หรืออเมริกาเหนือ ส่วนใหญ่จะไปถึงขั้นที่ 3 แต่ยังไม่ไปถึงขั้นที่ 4 ส่วนตลาดญี่ปุ่นมีโอกาสที่จะเป็นถึงขั้นที่ 4 คือเป็นผู้ที่อยู่อาศัยถาวรได้มาก ทั้งนี้เพราะว่าเพราะว่าค่าครองชีพในญี่ปุ่นสูงมาก รายได้จากเงินบำเหน็จบำนาญ ไม่พอเพียงที่จะใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย ขณะที่เงินจำนวนเท่ากันนั้น สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบายในประเทศไทย ดังนั้นโอกาสที่ผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นจะเข้ามาพำนักระยะยาวเป็นปีในประเทศไทย จึงเป็นเรื่องที่มีโอกาสสูงในอนาคต
ตลาดนักท่องเที่ยวพำนักระยะยาว กลุ่มผู้สูงอายุจากประเทศต่าง ๆ นั้น เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่นับพันล้านคน ในปัจจุบันโลกมีประชากรกว่า 6,200 ล้านคนและเป็นประชากรสูงอายุ ( 50 ปีขึ้นไป ) ถึง 18% (จำนวนประมาณ 1,138 ล้านคน) และมีสัดส่วนที่สูงขึ้นทุกปี ตามรายละเอียดในตารางที่ 2-1
ตารางที่ 2-1 : ประมาณการจำนวนประชากรผู้สูงอายุของโลก
จำนวนประชากร | พ.ศ. | ||||
2545 | 2553 | 2563 | 2573 | 2583 | |
จำนวนประชากรทุกกลุ่มอายุ (ล้านคน) | 6,233 | 6,823 | 7,517 | 8,139 | 8,667 |
จำนวนประชากรอายุ 50 ปีขึ้นไป (ล้านคน) | 1,138 | 1,410 | 1,833 | 2,254 | 2,688 |
สัดส่วน (%) | 18 | 21 | 24 | 28 | 31 |
ที่มา : U.S.CENSUS BUREAU
ผู้สูงอายุปัจจุบันมีลักษณะและพฤติกรรมแตกต่างไปจากเดิมมาก ผู้สูงอายุมีรายได้และมีอำนาจการใช้จ่ายของตัวเอง มีอิสระที่จะตัดสินใจในการดำเนินชีวิต ซึ่งแม้ในตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค ตลาดผู้สูงอายุก็จัดว่าเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ และมีอัตราการขยายตัวสูง ผู้สูงอายุในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีสุขภาพดี มีการศึกษาสูง มีอายุยืนยาวกว่าในอดีต และเป็นกลุ่มที่ใช้เงินที่มีอยู่เพื่อการท่องเที่ยวมากกว่ากลุ่มอายุอื่น เมื่อพิจารณาเฉพาะประชากรสูงอายุจากตลาดที่มีรายได้สูง (ประเทศที่มีรายได้ต่อหัวของประชากรสูง) และคัดเลือกมาเฉพาะ 5 ตลาดหลักที่กำหนดไว้เป็นเป้าหมายคือ ตลาดญี่ปุ่น ตลาดสหรัฐอเมริกา ตลาดอังกฤษ ตลาดเยอรมนี และตลาดสแกนดิเนเวีย จะพบว่ามีประชากรสูงอายุกว่า 180 ล้านคน และอัตราการเพิ่มมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นทุกปี
ตารางที่ 2-2 : จำนวนประชากรในตลาดหลักที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
ประเทศ | จำนวนประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป พ.ศ. 2544 (คน) |
1. ญี่ปุ่น | 48,208,000 |
2. สหรัฐอเมริกา | 78,103,000 |
3. อังกฤษ | 19,530,000 |
4. เยอรมนี | 29,088,000 |
5. สแกนดิเนเวีย | 8,157,000 |
- สวีเดน 3,192,000 | |
- นอร์เวย์ 1,418,000 | |
- ฟินแลนด์ 1,749,000 | |
- เดนมาร์ก 1,798,000 | |
รวม | 181,086,000 |
ที่มา : U.S.CENSUS BUREAU
พฤติกรรมการท่องเที่ยวพำนักระยะยาวของตลาดหลักทั้งหมดนี้ ถ้าพิจารณาแต่ละตลาดแล้วจะพบลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้
2.3.1 ตลาดญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอัตราส่วนของผู้สูงอายุสูงที่สุดในโลก ในปี พ.ศ.2543 ชาวญี่ปุ่นที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมีจำนวนถึง 21.5 ล้านคน และมีประชากรที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปคิดเป็นกว่า 45% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ นอกจากนี้องค์กรและธุรกิจเอกชนเป็นจำนวนมากต่างมีนโยบายส่งเสริมการเกษียณอายุก่อนกำหนด ญี่ปุ่นจึงเป็นประเทศที่มีผู้เกษียณอายุเป็นจำนวนมาก นับได้ว่าเป็นตลาดนักท่องเที่ยวพำนักระยะยาวที่น่าสนใจ
จากกระแสวัฒนธรรมตะวันตกที่หลั่งไหลเข้าไปในประเทศญี่ปุ่นในทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้ผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นต้องอยู่ตามลำพังและห่างเหินจากบุตรหลาน ขาดการดูแลเอาใจใส่ อีกทั้งญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพสูงมาก หากผู้สูงอายุเหล่านี้จะใช้ชีวิตในประเทศตนเอง ก็อาจมีรายได้ที่จะใช้จ่ายไม่ค่อยจะเพียงพอ จึงมีผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นบางส่วนต้องการเดินทางไปใช้ชีวิตหลังเกษียณในประเทศที่มีค่าครองชีพต่ำกว่า และเนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีประสบการณ์การท่องเที่ยวต่างประเทศ การตัดสินใจเลือกสถานที่เพื่อไปท่องเที่ยวและพำนักระยะยาวของผู้สูงอายุ จึงไม่ใช่เป็นการท่องเที่ยวแบบธรรมดา แต่ผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นจะมองหารูปแบบใหม่ ๆ เช่น การไปพักอยู่กับบ้านเรือนของคนท้องถิ่นที่เรียกว่า Home Stay หรือการท่องเที่ยวควบคู่กับการทำกิจกรรมบางอย่างที่ญี่ปุ่นเรียกว่า Outdoor Activity Tour เพื่อหาประสบการณ์จริงในการใช้ชีวิตในประเทศนั้น ๆ รวมทั้งการได้เรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย
2.3.2 ตลาดสหรัฐอมริกา
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศใหญ่มีประชากรสูงอายุกว่า 76 ล้านคน ปัจจุบันมีชาวอเมริกันอย่างน้อยสามแสนคนใช้ชีวิตหลังเกษียณในต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศในยุโรป อาทิเช่น อิตาลี เยอรมนี และสแกนดิเนเวีย แม้ว่าประเทศเหล่านี้จะมีค่าครองชีพสูง แต่ชาวอเมริกันที่เลือกไปใช้ชีวิตหลังเกษียณในประเทศเหล่านี้ เพราะมีความผูกพันสืบเนื่องทางบรรพบุรุษ หรือมีญาติพี่น้องอาศัยอยู่ ในขณะเดียวกันก็มีชาวอเมริกันไม่น้อยที่เข้าไปใช้ชีวิตหลังเกษียณในไอร์แลนด์ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น แต่เนื่องจากเป็นประเทศที่มีมาตรฐานการดำรงชีวิตสูง มีระบบการรักษาพยาบาลที่ดี ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการสื่อสารและมีค่าครองชีพไม่สูงนัก นอกจากนี้คนไอร์แลนด์ยังมีความเป็นมิตรต่อชาวอเมริกันเป็นอย่างมาก
นอกจากไอร์แลนด์แล้ว ชาวอเมริกันบางส่วนยังเลือกที่จะท่องเที่ยว และพำนักระยะยาวทางตอนใต้ของประเทศโปรตุเกส กรีซ และเมืองริมชายฝั่งทะเลของสเปน เพราะสถานที่เหล่านี้มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม มีค่าครองชีพไม่สูงนัก และมีความปลอดภัยในการดำรงชีวิตค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตามชาวอเมริกันบางส่วนก็เลือกที่จะอยู่ในประเทศที่มีความสะดวกสบายและค่าครองชีพไม่สูงนัก เพื่อให้พอเหมาะกับกำลังการใช้จ่ายที่มีอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือเงินบำนาญ และเงินที่เก็บออมไว้ในช่วงวัยทำงาน ดังนั้นจึงเลือกที่จะอยู่ในประเทศของตนโดยเลือกไปอยู่บริเวณที่มีอากาศดี เช่น แถบรัฐฟลอริดา และรัฐทางใต้ รวมทั้งประเทศใกล้เคียงคือ ประเทศเม็กซิโก ซึ่งผู้เกษียณอายุบางส่วนจะลงทุนซื้อบ้านริมชายฝั่งทะเลไว้พำนักระยะยาว เพราะมีค่าครองชีพต่ำกว่า
ในอดีต การตัดสินใจเลือกสถานที่ที่จะไปพำนักเป็นระยะเวลานานของชาวยุโรปนั้น จะพิจารณาจากความคุ้นเคยกับสถานที่เป็นสำคัญ โดยส่วนใหญ่จะเลือกไปท่องเที่ยวพำนักระยะยาวในประเทศที่เคยไปมาแล้ว และได้รับประสบการณ์ที่ดี แหล่งท่องเที่ยวพำนักระยะยาวที่เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีของนักท่องเที่ยวสูงอายุชาวยุโรป และเป็นที่นิยมไปใช้ชีวิตหลังเกษียณเป็นระยะเวลานาน ได้แก่ สเปน โปรตุเกส อิตาลี กรีซ และรัฐฟลอริดาในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่เป็นประเทศในยุโรป ทั้งนี้เพราะมีความสะดวกในการเดินทาง ระยะทางไม่ไกลมากนัก ใช้เวลาเดินทางไม่นานจนเกินไป มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน มีระบบการรักษาพยาบาลที่ดี และมีมาตรฐานการดำรงชีวิตสูง
อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกสถานที่เพื่อการท่องเที่ยวพำนักระยะยาวเริ่มจะเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากในปัจจุบันผู้สูงอายุในยุโรปสุขภาพดี มีกำลังในการใช้จ่ายด้วยตนเองมากขึ้น และมีความต้องการที่จะทดลองไปใช้ชีวิตในสถานที่ที่มีวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีแตกต่างจากที่เป็นอยู่ (อันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัฒน์) นอกจากนี้บางส่วนก็เลือกเดินทางไปท่องเที่ยวและพำนักระยะยาว โดยพิจารณาจากประเทศที่มีค่าครองชีพต่ำ คุ้มค่ากับเงิน มีสภาพภูมิอากาศดี และมีวิถีชีวิตตรงกับที่ตนต้องการ
ตลาดสแกนดิเนเวีย แม้จะมีจำนวนประชากรสูงอายุเพียง 8 ล้านคนเศษ แต่ก็เป็นตลาดที่น่าสนใจมาก เพราะเป็นตลาดที่มีอัตราการเพิ่มของนักท่องเที่ยวสูงอายุที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยสูงมาก ชาวสแกนดิเนเวียมีความผูกพันกับทะเลและภูเขาอย่างมาก ชอบการดำน้ำ และการเล่นเรือใบ ชอบแสงแดดเพราะประเทศของตนมีแสงแดดน้อย อากาศหนาวเกือบตลอดปี ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งจึงเป็นโรคซึมเศร้าเพราะขาดแสงแดด การรักษาจะใช้วิธีการให้คนไข้นั่งดูแสงจากหลอดไฟฟ้า ดังนั้นผู้สูงอายุชาวสแกนดิเนเวียจึงเป็นนักท่องเที่ยวพำนักระยะยาวที่สำคัญของสถานที่ท่องเที่ยวในยุโรปตอนใต้ เพราะมีทะเล และมีแสงแดด และถ้าได้เล่นเรือด้วยก็ยิ่งพอใจมากขึ้น
เนื่องจากชาวสแกนดิเนเวียมีรายได้สูง ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมมาก ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวอยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลก รองจากญี่ปุ่น มีมาตรฐานการครองชีพสูง ดังนั้น นักท่องเที่ยวสูงอายุหล่านี้จึงเป็นนักท่องเที่ยวที่ใช้จ่ายสูง พิถีพิถันเรื่องความสะอาดของอาหารและที่พัก ห้องพักไม่ต้องมีขนาดใหญ่ แต่มีรสนิยมในการตกแต่ง ชอบธรรมชาติ ชอบทะเล แสงแดด และเล่นน้ำ ชอบอาหารทางตะวันออก สแกนดิเนเวียมีปลามากแต่ทำอาหารปลาที่หลากหลายไม่เก่ง ดังนั้นชาวสแกนดิเนเวียจึงชอบอาหารไทย โดยเฉพาะอาหารทะเลที่มีความหลากหลายในรูปแบบและรสชาติมาก พฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของผู้สูงอายุชาวสแกนดิเนเวียก็มีความคล้ายคลึงกับชาวยุโรป คือ เลือกเดินทางโดยอิสระ และเริ่มสนใจมีบ้านหลังที่สองเป็นบ้านพักผ่อนในประเทศที่มีทะเล ภูเขา แสงแดด และอากาศดี
2.4 แหล่งท่องเที่ยวพำนักระยะยาวที่สำคัญของโลก
แหล่งท่องเที่ยวที่มีโอกาสจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อการพำนักระยะยาวของตลาดโลกนั้น อาจจะมีได้มากมายหลายแห่ง แต่ด้วยข้อจำกัดในเรื่องการเดินทางไกล ความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวก ทำให้แหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะแก่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวพำนักระยะยาวมีจำนวนไม่มากนัก ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
พื้นที่ส่วนใหญ่ในยุโรปจะอยู่ในเขตหนาว และอากาศไม่สู้ดีนัก ดังนั้น ประเทศใดที่มีอาณาบริเวณที่มีอากาศค่อนข้างดี มีแสงแดด มีทะเล ก็มักจะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวพำนักระยะยาวที่มีชื่อเสียง ได้แก่ สเปน โปรตุเกส อิตาลี กรีซ
เมื่อเปรียบเทียบจุดแข็งจุดอ่อน หรือข้อได้เปรียบเสียเปรียบกับแหล่งท่องเที่ยวพำนักระยะยาวของไทยแล้ว จะพบว่าแหล่งท่องเที่ยวพำนักระยะยาวมีความได้เปรียบในการแข่งขันในเรื่องต่อไปนี้คือ
1. ตำแหน่งที่ตั้ง ตั้งอยู่ใกล้ตลาดหลัก ทั้งตลาดยุโรป ตลาดสแกนดิเนเวีย และตลาดสหรัฐอเมริกา
2. การเดินทาง นักท่องเที่ยวพำนักระยะยาวจากตลาดยุโรปและตลาดสแกนดิเนเวีย สามารถเดินทางสู่แหล่งท่องเที่ยวได้โดยสะดวก ทั้งทางรถไฟ ทางรถยนต์ และทางเครื่องบิน สำหรับนักท่องเที่ยวจากยุโรป ถ้าเดินทางโดยเครื่องบินจะใช้เวลาโดยเฉลี่ยไม่ถึง 2 ชั่วโมง ถ้าเป็นนักท่องเที่ยวพำนักระยะยาวจากสแกนดิเนเวียจะใช้เวลาเพิ่มขึ้นไม่มากนัก หรือถ้าเป็นนักท่องเที่ยวจากสหรัฐเอมริกา ก็จะใช้เวลายาวนานขึ้นเป็น 6-8 ชั่วโมง ซึ่งก็น้อยกว่ามาประเทศไทย
3. ความสะดวกสบายในการอยู่อาศัย มีมาตรฐานแบบยุโรปทั่ว ๆ ไป จึงได้รับความสะดวกและมีความสบายใจในเรื่องอาหารและการดำรงชีวิตในระหว่างพำนักระยะยาว
ข้อเสียเปรียบของแหล่งท่องเที่ยวพำนักระยะยาวในยุโรป คือ
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ ซึ่งมีส่วนที่เป็นเขตหนาว และเขตอบอุ่น ดังนั้น ส่วนใดที่มีอากาศดี ก็จะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวพำนักระยะยาวที่มีชื่อเสียง ซึ่งได้แก่ รัฐฟลอริดา และรัฐฮาวาย ซึ่งมีทั้งทะเลที่มีชายหาดสวยงาม และมีอากาศอบอุ่น
เมื่อพิจารณาข้อได้เปรียบเสียเปรียบกับแหล่งท่องเที่ยวพำนักระยะยาวของไทยแล้ว จะพบว่า แหล่งท่องเที่ยวพำนักระยะยาวในสหรัฐอเมริกามีข้อได้เปรียบในเรื่องต่อไปนี้ คือ
1. ตำแหน่งที่ตั้ง ตั้งอยู่ใกล้ตลาดยุโรปสำหรับรัฐฟลอริดา และใกล้ตลาดญี่ปุ่นสำหรับรัฐฮาวาย
2. การเดินทาง ชาวอเมริกันจะใช้เวลาน้อยกว่าและมีความสะดวกมากกว่าในการเดินทางไปรัฐฟลอริดาและฮาวาย
3. ความสะดวกสบายในการอยู่อาศัย มีมาตรฐานแบบอเมริกัน นักท่องเที่ยวพำนักระยะยาวจึงได้รับความสะดวก และมีความสบายใจในเรื่องอาหารและการดำรงชีวิต เช่นเดียวกับอยู่บ้านของตนเอง
ข้อเสียเปรียบของแหล่งท่องเที่ยวรัฐฟลอริดา และรัฐฮาวาย คือ
1. ค่าใช้จ่ายในการอยู่อาศัย ที่มีค่าครองชีพสูงกว่าการอยู่อาศัยในประเทศไทยมาก
2. อาหารการกิน สู้ประเทศไทยไม่ได้
3. การบริการและกิจกรรมพิเศษ มีน้อยกว่าประเทศไทย
ประเทศออสเตรเลียมีพื้นที่กว้างใหญ่เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา พื้นที่ฝั่งตะวันออกของรัฐควีนส์แลนด์ เป็นแหล่งที่มีอากาศอบอุ่นติดชายทะเล จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวพำนักระยะยาวที่มีชาวญี่ปุ่นมาตั้งหลักแหล่ง มีหมู่บ้านจัดสรรสำหรับชาวญี่ปุ่นที่เมืองโกลด์โคสท์ เพราะมีอากาศดี
หากจะเปรียบเทียบระหว่างแหล่งท่องเที่ยวพำนักระยะยาวในออสเตรเลียกับของประเทศไทยแล้ว แหล่งท่องเที่ยวพำนักระยะยาวในออสเตรเลียเกือบจะไม่มีข้อได้เปรียบแหล่งท่องเที่ยวพำนักระยะยาวของไทยเลย จะมีข้อได้เปรียบอยู่บ้างก็เฉพาะเรื่องที่ประชาชนสามารถใช้ภาษาอังกฤษ และการเดินทางในประเทศที่สะดวกกว่าประเทศไทยเท่านั้น นอกนั้นจะเป็นข้อเสียเปรียบทั้งในเรื่องค่าครองชีพที่สูงกว่าของไทยมาก ค่าอาหารแพงกว่า มีความหลากหลายน้อยกว่า มีกิจกรรมพิเศษให้ทำน้อยกว่า และที่สำคัญคือ การให้บริการสู้คนไทยไม่ได้
แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในเอเชียปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่ามีเพียง 2 แห่งคือ ประเทศไทย กับบาหลีในอินโดนีเซีย สำหรับฟิลิปปินส์นั้น ความไม่พร้อมและความไม่สงบทางการเมือง ทำให้การส่งเสริมการท่องเที่ยวพำนักระยะยาวไม่ประสบผลสำเร็จ ถึงแม้ว่ารัฐบาลฟิลิปปินส์จะได้ตระหนักถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวพำนักระยะยาว และได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลด้านนี้โดยตรงมาตั้งแต่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว
สำหรับบาหลี ประเทศอินโดนีเซียนั้น ถือได้ว่าเป็นคู่แข่งด้านการเป็นแหล่งท่องเที่ยวพำนักระยะยาวของไทย เพราะมีปัจจัยหลายอย่างใกล้เคียงกัน เช่นตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในเขตเดียวกัน การเดินทางจากตลาดลูกค้าเป้าหมายใช้เวลาใกล้เคียงกัน ความสะดวกสบายในการอยู่อาศัยก็มีความใกล้เคียงกัน และค่าครองชีพต่ำเหมือนกัน
แต่มีปัจจัยที่ถือว่าการพำนักระยะยาวในประเทศไทยมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันมากกว่าในอินโดนีเซียคือความหลากหลายในเรื่องอาหารการกิน ความหลากหลายของกิจกรรมและการให้บริการ นอกจากนี้ความไม่เคร่งครัดทางด้านศาสนาก็น่าจะช่วยให้ไทยสามารถให้บริการนักท่องเที่ยวได้ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเกิดเหตุระเบิดที่เกาะบาหลี จากการก่อการร้ายเมื่อปี 2545
2.5 ผลการศึกษานักท่องเที่ยวสูงอายุที่เดินทางมาประเทศไทย
จากรายงานการวิจัยเรื่องแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวพำนักระยะยาวโดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ข้อสรุปที่สำคัญและข้อคิดเห็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ
2.5.1 เหตุผลที่สนใจจะมาท่องเที่ยวพำนักระยะยาวในประเทศไทย
มีเหตุผลสำคัญ 6 ลำดับแรก ได้แก่
2.5.2 ช่วงเวลาที่สนใจจะมาท่องเที่ยวพำนักระยะยาว
คือระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมีนาคม
2.5.3 สถานที่ที่สนใจจะมาท่องเที่ยวพำนักระยะยาว
สนใจจะมาชายทะเลมากที่สุด รองลงไปคือภูเขาและกรุงทำพมหานคร หรือตามเมืองใหญ่
2.5.4 ลักษณะของที่พักที่สนใจเมื่อมาท่องเที่ยวพำนักระยะยาว
สนใจที่จะพักโรงแรมมากที่สุด รองลงไปคือ อพาร์ตเม้นท์ เกสเฮ้าส์ และรีสอร์ท
2.5.5 ความสำคัญของสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการภายในบริเวณที่พัก
สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการภายในบริเวณที่พักซึ่งนักท่องเที่ยวสูงอายุเห็นว่ามีความสำคัญมากสำหรับการท่องเที่ยวพำนักระยะยาวจำนวน 4 รายการแรก ได้กี่ร
2.5.6 ความสำคัญของบริการด้านต่าง ๆ ในบริเวณใกล้เคียงกับที่พัก
การบริการด้านต่าง ๆ ในบริเวณใกล้เคียงกับที่พักซึ่งนักท่องเที่ยวสูงอายุเห็นว่ามีความสำคัญมากสำหรับการท่องเที่ยวพำนักระยะยาว 5 รายการแรก ได้แก่
2.5.7 ความสำคัญของกิจกรรมระหว่างการท่องเที่ยวพำนักระยะยาว
กิจกรรมที่สำคัญในทัศนะของนักท่องเที่ยวสูงอายุจากยุโรปตะวันตก สแกนดิเนเวีย และสหรัฐอเมริกา คือบริการนำเที่ยว และการท่องเที่ยว
ส่วนกิจกรรมที่สำคัญสำหรับชาวญี่ปุ่นประกอบด้วย การท่องเที่ยว บริการนำเที่ยว กอล์ฟ การทำสวน (ผักสวนครัว)
2.5.8 ความสนใจในการพักในชุมชนหรือสถานที่เฉพาะกลุ่มคนจากประเทศเดียวกัน
ส่วนใหญ่ไม่สนใจที่จะเข้าพักในสถานที่ซึ่งมีลักษณะดังกล่าว ซึ่งเหตุผลก็คือ เมื่อมาท่องเที่ยวพำนักระยะยาวในประเทศไทย ผู้ให้สัมภาษณ์สนใจที่จะมีโอกาสได้พบปะผู้คนจากหลายเชื้อชาติ หลายวัฒนธรรมมากกว่าจะมาเกาะกลุ่มอยู่เฉพาะผู้ที่มาจากประเทศเดียวกัน ยกเว้นชาวญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่สนใจที่จะพักอยู่ในชุมชนเฉพาะคนญี่ปุ่น
2.5.9 ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ เกี่ยวกับการท่องเที่ยวพำนักระยะยาว
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเข้ามาพำนักระยะยาวในต่างประเทศของชาวญี่ปุ่นพบว่า ชาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญในเรื่องต่อไปนี้
2.5.10 เหตุผลสำคัญที่ไม่สนใจจะมาท่องเที่ยวพำนักระยะยาวในประเทศไทย
1. ไม่มีโอกาสและเวลาที่จะมาพักผ่อนมานถึง 1 เดือน
2. มีอายุมากเกินไป ไม่สะดวกที่จะมาอยู่เป็นเวลานาน
3. ชอบที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ใหม่ๆ
4. ต้องกลับไปทำงานต่อ
��Inside-out Perspective��
เนื่องจากตลาดสำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวพำนักระยะยาวเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มากตามที่ได้นำเสนอไปแล้ว และแนวโน้มการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาประเทศไทย ตามรายละเอียดในตารางที่ 2-3, ตารางที่ 2-4 และตารางที่ 2-5
ตารางที่ 2-3 : แนวโน้มการท่องเที่ยวของประเทศไทยระหว่าง พ.ศ.2538-2545
แนวโน้มทางการท่องเที่ยว ( 2538 – 2543 ) | ||||||||
Year | International | Domestic | ||||||
Tourist
Number (million) |
Average
Length of Stay (days) |
Average
Expenditure /person/day (baht) |
Revenue
Million (baht) |
Thai visitor
Trip (million) |
Average
Length of Stay (days) |
Average
Expenditure /person/day (baht) |
Revenue
Million (baht) |
|
2538 | 6.95 | 7.43 | 3,693 | 190,765 | 52.26 | 2.27 | 1,248 | 148,112 |
2539 | 7.19 | 8.23 | 3,706 | 219,364 | 52.47 | 2.22 | 1,314 | 157,323 |
2540 | 7.22 | 8.33 | 3,672 | 220,754 | 52.05 | 2.31 | 1,466 | 180,388 |
2541 | 7.76 | 8.40 | 3,713 | 242,177 | 51.68 | 2.37 | 1,513 | 187,898 |
2542 | 8.58 | 7.96 | 3,705 | 253,018 | 53.55 | 2.35 | 1,600 | 201,200 |
2543 | 9.50 | 7.77 | 3,861 | 285,272 | 56.05 | 2.40 | 1,730 | 228,300 |
2544 | 10.06 | 7.93 | 3,748 | 299,047 | N/A | N/A | 3,962 | N/A |
2545 | 10.79 | 7.98 | 3,754 | 323,484 | N/A | N/A | 3,970 | N/A |
ที่มา : รวบรวมจากเอกสารของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ตารางที่ 2-4 : ระดับอายุของชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย
อายุ
(ปี) |
จำนวนชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาใน
ประเทศไทย (คน) จำแนกตาม Country of Residence พ.ศ.2541 |
จำนวนชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาใน
ประเทศไทย (คน) จำแนกตาม Country of Residence พ.ศ. 2544 |
สัดส่วน
( % ) พ.ศ. 2544 |
ต่ำกว่า 15 ปี | 376,516 | 485,038 | 4.8 |
15 – 24 | 746,643 | 1,038,914 | 10.3 |
25 – 34 | 2,122,148 | 2,726,812 | 27.1 |
35 – 44 | 1,857,540 | 2,414,170 | 23.9 |
45 – 54 | 1,492,251 | 1,893,820 | 18.8 |
55 – 64 | 826,902 | 1,060,440 | 10.5 |
65 ปีขึ้นไป | 343,930 | 442,756 | 4.5 |
รวม | 7,765,930 | 10,061,950 | 100.0 |
ที่มา : สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
หมายเหตุ : จำนวนนักท่องเที่ยวไม่รวมคนไทยในต่างประเทศ
จากตารางที่ 2-4 จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยนั้นได้เพิ่มจำนวนจาก 7.76 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2541 เป็น 10.06 ล้านคนในปี พ.ศ.2544 ในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไปถึง 3.39 ล้านคน คิดเป็น 33.8% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมดในปี พ.ศ. 2544
ตารางที่ 2-5 : จำนวนประชากรของตลาดเป้าหมายหลักและจำนวนนักท่องเที่ยวอายุ 45 ปีขึ้นไปจากตลาดเป้าหมายหลักที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย
ประเทศ |
จำนวนประชากรที่มีอายุ
45 ปีขึ้นไป
(คน) พ.ศ. 2544 |
จำนวนนักท่องเที่ยวที่มีอายุ
45 ปีขึ้นไป
ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย (คน) จำแนกตาม Country of Residence พ.ศ. 2544 |
% สัดส่วน |
1. ญี่ปุ่น | 57,827,463 | 463,975 | 0.80 |
2. สหรัฐอเมริกา | 98,259,561 | 219,701 | 0.22 |
3. อังกฤษ | 23,497,474 | 170,796 | 0.73 |
4. เยอรมนี | 35,213,211 | 155,518 | 0.44 |
5. สแกนดิเนเวีย
- สวีเดน, นอร์เวย์, ฟินด์แลนด์, เดนมาร์ก |
9,921,635 | 151,830 | 1.53 |
ที่มา : US CENSUS BUREAU, สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
หมายเหตุ : จำนวนนักท่องเที่ยวไม่รวมคนไทยในต่างประเทศ
จากตารางที่ 2-5 เมื่อเปรียบเทียบจำนวนประชากรสูงอายุในประเทศเป้าหมายกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เคยเดินทางเข้ามาในประเทศไทย จะเห็นได้ว่ายังมีสัดส่วนที่น้อยมาก โดยสัดส่วนสูงที่สุดยังไม่ถึง 2% จึงยังมีโอกาสอีกมากที่จะเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวสูงอายุจากตลาดหลักเหล่านี้ ซึ่งย่อมจะส่งผลถึงการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวพำนักระยะยาวตามไปด้วย
เมื่อพิจารณาในด้านความพร้อมในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวพำนักระยะยาว รวมถึงการประเมินในภาพรวมของทรัพยากร (Resource) ความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Advantage) แล้วพบว่า พื้นที่และจังหวัดที่มีศักยภาพในการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวพำนักระยะยาวในประเทศไทย ในช่วงแรก ได้แก่
มีความพร้อมสูงในการรองรับนักท่องเที่ยวพำนักระยะยาวที่สนใจธรรมชาติ และวัฒนธรรม
ศักยภาพของจังหวัดเชียงใหม่ / เชียงราย
ปัญหา – อุปสรรค
มีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวระยะยาวค่อนข้างสูง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ชอบทะเลและแสงแดด
ศักยภาพของหัวหิน-ชะอำ
ปัญหา – อุปสรรค
มีความเป็นธรรมชาติและมีสะพานข้ามแม่น้ำแควเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่2 ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายแต่มีปัญหาเรื่องอากาศร้อนและแห้งแล้งในตอนกลางวันเกือบทั้งปีและร้อนจัดในฤดูร้อน
ศักยภาพของจังหวัดกาญจนบุรี
ปัญหา-อุปสรรค
เป็นจังหวัดที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดลำดับที่ 7 ของโลก สำหรับเป็น ��บ้านที่สองของชาวอเมริกันสูงอายุที่จะเลือกเป็นถิ่นพำนัก ��
ศักยภาพของจังหวัดหนองคาย
ปัญหา-อุปสรรค
3.2 Five Forces Analysis
ภาวะอุตสาหกรรม
คู่แข่ง (อินโดนีเซีย, จีน, มาเลเซีย)
Supplier
ลูกค้า
New Entrance
ภาวะอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีขนาดตลาดค่อนข้างใหญ่ เป็นอุตสาหกรรมที่หลายประเทศให้ความสนใจ และพยายามที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศของตนเอง อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้ประเทศค่อนข้างสูง และก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ อีกมากมาย อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจึงเป็นอุตสาหกรรมที่มีภาวะแข่งขันค่อนข้างสูง
ลูกค้า
กลุ่มนักท่องเที่ยวสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท แต่ละประเภทเดินทางด้วยหลายวัตถุประสงค์ ได้แก่ เพื่อการท่องเที่ยว เพื่อการรักษาสุขภาพ เพื่อการศึกษา ฯลฯ จากสถิติพบว่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยจะใช้เวลาในการพำนักในประเทศ โดยเฉลี่ยประมาณ 8 วัน ใช้จ่ายโดยเฉลี่ยประมาณ 3,754 บาทต่อวันต่อคน นักท่องเที่ยวมีอำนาจซื้อสูงพอ แต่ก็มีทางเลือกมากมายในการเลือกสถานที่ท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะประสบความสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายส่วนที่ Supply สู่อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในประเทศไทยเองแม้ว่าจะมี Supply หลาย ๆ อย่างที่เอื้ออำนวย แต่ยังมีอีกหลายอย่างที่ประเทศไทยเองจะต้องพัฒนาเพื่อ Supply สู่อุตสาหกรรม เช่น ภาษาสำหรับใช้สื่อสารกับชาวต่างชาติ
คู่แข่ง
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าอุตสาหกรรมนี้เป็นอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง คู่แข่งสำคัญสำหรบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวไม่ด้วยไปกว่าประเทศไทย แต่สิ่งที่แตกต่างอย่างหนึ่งที่จีนมีน้อยกว่าไทย คือ การบริการด้วยจิตใจ (Humanized Services) กล่าวคือการบริการของจีนเองเป็นการบริการที่ยังมีความแข็งกระด้าง และไม่เป็นกันเองกว่าที่ไทยมี ดังนั้นความรู้สึกอบอุ่นรวมถึงความพึงพอใจที่ได้รับจากการบริการคงมีต่อไทยมากกว่าจีน
สำหรับสองประเทศนี้เป็นประเทศคู่แข่งที่อยู่ใน Positioning เดียวกัน เป็นประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติน้อยกว่าประเทศไทย สำหรับการบริการนั้นทั้งสองประเทศนี้มีความเป็น Robot Service ค่อนข้างมาก นอกเหนือจากนี้การเมืองในประเทศอินโดนีเซียเองก็ไม่มีเสถียรภาพเท่าที่ควร ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัญหาต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
เนื่องด้วยในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นกลุ่มประเทศที่มีอารยธรรมที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน แม้ว่าจะแตกต่างกันในเชิงภูมิศาสตร์ และสถานที่ท่องเที่ยว รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติอยู่บ้างก็ตาม จึงมีความเป็นไปได้ที่ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะลุกขึ้นมาเป็นคู่แข่งได้ในอนาคต ไทยเองควรเพิ่ม Value ทางด้านการบริการ (Hunamized Service) อย่างต่อเนื่องด้วยการ Train ให้มี Service Mind
จาก SWOT Analysis และ Five Force Models เมื่อวิเคราะห์ในภาพรวมแล้ว ความสามารถในการแข่งขันหลัก (Core Competency) ของประเทศไทย มีดังนี้
จาก Positioning และ Core Competency ของประเทศไทย เมื่อพิจารณาในเชิง Long Stay แล้ว การพิจารณาเลือกตลาดสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป (กลุ่มสูงอายุ) ซึ่งมีจำนวนประมาณ 1,228 ล้านคน ในปี 2547 หรือกลุ่มอื่นๆ ได้แก่ กลุ่มนักท่องเที่ยวกับหนุ่มสาวและวัยเด็ก ซึ่งมีจำนวนประมาณ 5,201 ล้านคน ในปี 2547 จะวิเคราะห์จาก Core Competency ของประเทศไทย ในการให้บริการเข้าถึงและตรงตามความต้องการของกลุ่มลูกค้า ดังนี้
Core Competency | นักท่องเที่ยวกลุ่มสูงอายุ |
นักท่องเที่ยวกลุ่มหนุ่มสาวและเด็ก |
จิตใจที่ดีงาม | | |
จิตใจรักบริการ | | |
ความเคารพต่อผู้อาวุโส | | |
ธรรมชาติสวยงาม | | |
การแพทย์และสาธรณสุข | | |
ค่าครองชีพอยู่ในระดับต่ำ | | |
หมายถึง ไม่จำเป็นมาก
ดังนั้น Target Market ควรจะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ โดยสามารถ Mapping Core competency ของไทย และ Perspective ที่ต่างชาติมองเรา และความต้องการของผู้สูงอายุ ซึ่งตาม Principle of Maslow จะพบว่า ผู้สูงอายุซึ่งผ่านช่วงอายุของการทำงานมาแล้ว และมีความมั่นคงทางด้านฐานะการเงิน จะมีความต้องการเพื่อส่วนตัวมากขี้น ดังนี้
ความพร้อมด้านอื่น ๆ ของประเทศไทย
- มีแรงงานหญิงที่อยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม (OEM) ประมาณ ????? คน ซึ่งต้องจากบ้านเกิดมาขายแรงงาน ในเมืองใหญ่ และสามารถกลับไปทำงานที่บ้านเกิดได้
Core Competency | ความต้องการของผู้สูงอายุ | |||||
การดูแล | ความอบอุ่น การเป็นครอบครัว | ความเคารพนับถือ ความรู้สึกตัวเองมีค่า | ความเป็นอยู่แบบสะดวกสบาย | ความมั่นใจในหลักประกันด้านสุขภาพ | สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ อากาศที่ดี | |
จิตใจที่ดีงาม | | |||||
จิตใจรักบริการ | | | | |||
ความเคารพต่อผู้มีอาวุโส | |
|
| |||
ธรรมชาติสวยงาม | | |||||
มีการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน | | | | |||
ค่าครองชีพอยู่ในระดับต่ำ | |
ความพร้อมทางด้านบุคลากรหญิง
Target market ของ Long Stay Thailand จะเป็นนักท่องเที่ยวอายุ
50 ปีขึ้นไป โดยในขั้นแรกจะครอบคลุม
4 ประเทศ และ 1 กลุ่มประเทศ โดย
Mapping ตามความต้องการของแต่ละประเทศ
ดังนี้
ประเทศ | ความต้องการ | |
1 | ญี่ปุ่น | |
2 | เยรมันนี | |
3 | อังกฤษ | |
4 | สหรัฐอเมริกา | |
5 | กลุ่มสแกนดิเนเวีย |
กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย จะเป็นกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีอากาศหนาวเย็นในช่วงฤดูหนาว และมีระบบเงินบำนาญให้กับผู้สูงอายุที่เกษียณอายุแล้ว (50 ปีขึ้นไป) ประมาณเดือนละ 1,000 – 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเราเลือกกลุ่มประเทศเป้าหมายไว้ 4 ประเทศ กับอีก 1 กลุ่มประเทศ คือ ญี่ปุ่น เยอรมัน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และกลุ่มสแกนดิเนเวีย ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายโดยประมาณ ดังนี้
ประเทศ | จำนวนประชากรที่อายุ > 50 ปี (พ.ศ.2544) | % ที่คาดว่าจะมาอยู่ Long Stay ในประเทศไทย | ปริมาณเงินที่คาดว่าจะใช้จ่ายในไทยต่อเดือน | จำนวนเงินที่คาดว่าจะเข้ามาในไทยในระยะเวลา 4 เดือน/ปี | สัดส่วนจำนวนประชากรที่อายุ>45 ปี และเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย (พ.ศ.2544) |
ญี่ปุ่น | 48,208,000 | 0.40% | 1,000 US$ | 771,328,000 | 0.80 |
เยอรมัน | 29,088,000 | 0.40% | 1,000 US$ | 465,408,000 | 0.44 |
อังกฤษ | 19,530,000 | 0.40% | 1,000 US$ | 312,480,000 | 0.73 |
สหรัฐอเมริกา | 76,103,000 | 0.20% | 1,000 US$ | 608,824,000 | 0.22 |
กลุ่มสแกนดิเนเวีย | 8,157,000 | 0.40% | 1,000 US$ | 130,512,000 | 1.53 |
US$/ปี | 2,288,552,000 |
Change OEMs Position to OBMs Services by Beautiful Thai, Beautiful Mind โดยมี Transforming Model ดังนี้
วงจรอุบาต
Concepts
กลยุทธ์ทางการตลาด (Marketing Strategy)
พลิกบทบาทประเทศไทยสู่ยุทธศาสตร์การสร้าง OBMs (Original Brand Manufactures Services) ��Thailand Longstay , Beautiful Thai , Beautiful Mind��
แผนแม่บท (Master Plan)
สร้างชุมชน หรือหมู่บ้าน อันสุขสงบ อบอุ่น และปลอดภัยสำหรับรองรับชาวต่างชาติ จำนวน 500,000 คน ภายใน 2 ปี ใน 5 จังหวัดเป้าหมาย คือ เชียงใหม่ เชียงราย กาญจนบุรี หัวหิน หนองคาย.และ เพิ่มเป็น 1,000,000 คน ในจังหวัดที่มีศักยภาพ และเป็นที่ต้องการของชาวต่างชาติ ภายใน 5 ปี โดยการส่งเสริมสนับสนุนให้เอกชนทั้งจากในประเทศ และจากต่างประเทศ เข้ามาร่วมดำเนินโครงการเพื่อลดภาระของรัฐบาลและเพิ่มความหลากหลายของการให้บริการ และสร้างให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของ Long Stay ในภูมิภาคอาเซียน ด้วยยุทธ์ศาสตร์การสร้างชุมชนในรูปแบบ ��PARADISE COMMUNITY��
ยุทธศาสตร์ PARADISE COMMUNITY
หลักการของการสร้างชุมชนท่องเที่ยวแบบลองสเตย์ เริ่มจากการจัดสรรพื้นที่เพื่อการก่อสร้าง Home Stay ที่พักอาศัยสำหรับนักเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย โดยมีการจัดหา Facilities ต่างๆ รวมถึงการดูแลความปลอดภัย โดยเริ่มจากจังหวัดเป้าหมายทั้ง 5 จังหวัด มุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนและส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวด้วยกลยุทธพันธมิตร (Strategic Alliance) ในการจัดหา Facilities และอำนวยความสะดวก รวมถึงสถานพยาบาล ในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่โครงการ ที่พร้อมให้บริการทั้งชาวต่างชาติ ชุมชน และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อสร้างความศักยภาพที่ครบวงจรและวางยุทธศาสตร์ในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
การสร้างลองสเตย์ด้วยกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (Differentiat Strategy) ทั้งรูปแบบของผลิตภัณฑ์และการบริการที่มีคุณภาพเหนือกว่าคู่แข่งประเทศอื่นๆ การสร้างภาพลักษณ์ด้วยความโดดเด่นทางด้านทรัพยากรมนุษย์และการบริการด้วยเอกลักษณ์และความนอบน้อมของคนไทยต่อนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายภายใต้สโลแกน ��Beautiful Thai, Beautiful Mind��
การบริการที่มุ่งสู่ทิศทางที่ชัดเจน...........
จุดเด่นของไทยที่อยู่เหนือคู่แข่งอยู่ที่จิตใจอัธยาศัยที่งดงามและบริการคุณภาพ
เพื่อให้แนวทางปฎิบัติของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการสร้างสรรค์บริการในรูปแบบ Longstay ที่สมบูรณ์แบบ OBMs services ซึ่งประกอบด้วยหลักการสร้างสรรค์ 4 Hs ในการสร้างคุณค่า (Value Creation) และคุณภาพของการบริการ ซึ่งสร้างความพึงพอใจและความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวดังต่อไปนี้
4Hs Principles
มุ่งเน้นการบริการให้นักท่องเที่ยวมีความสุขด้วยมิตรภาพและความจริงใจ การสร้างคุณค่าทางจิตใจ ตอบสนองความพอใจ มุ่งให้ทุกคนมีความสุขกายสบายใจ มีการตอบสนองที่ดีในทุกๆด้าน และทุกสภาวะทั้ง อากาศ อาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย และ สภาพแวดล้อมทางสังคมและธรรมชาติที่ดีและสวยงาม เสน่ห์ของแหล่งท่องเที่ยวของเมืองไทยที่สร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยว ให้การอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขของชุมชนและนักท่องเที่ยวภายใต้แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน
การเสริมสร้างบริการทางด้านสุขภาพและการดูแลนักท่องเที่ยวในรูปแบบ Home Health Care ด้วยศักยภาพและความพร้อมของบุคลากรไทยที่มีความอ่อนน้อมและมีจิตใจรักการบริการ (Service Mind) ต่อนักท่องเที่ยวสูงอายุอย่างใกล้ชิด อีกทั้งสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของการท่องเที่ยวแบบลองสเตย์ในอนาคตในการเป็น ศูนย์กลางด้านสุขภาพสำ หรับนักท่องเที่ยวแห่งเอเซีย�� (Tourist Health Hub Of Asia) ในอนาคต
มุ่งเน้นความมั่นคงปลอดภัย ทั้งด้านสุขอนามัย สำหรับนักท่องเที่ยวการประสานงานไปยังหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ/เอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไปให้ช่วยกันดูแลให้ความปลอดภัยในทุกๆด้าน
4. Hi-profile -คุณภาพมาตรฐานระดับสูง
การสร้างกิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยว ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทั้งนักท่องเที่ยว ชุมชนและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการกำหนดมาตรฐานระดับสูง มาตรฐานของที่พักอาศัยและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อสร้างภาพลักษณ์และเสริมสร้างศักยภาพที่แท้จริงของลองสเตย์ และสรรค์สร้าง
กลยุทธ์ผนึกกำลังสร้างสรรค์ 4 H
�� ความงดงามของไทย มิตรไมตรีจากใจสู่ใจ Beatiful Thai, Beautiful Mind��
เพื่อภาพพจน์ของโครงการ โดยจะไม่ใช้กลยุทธ์ด้านราคามาเป็นจุดขาย แต่จะแสดงให้นักท่องเที่ยวเห็นว่าราคาที่ขายสมกับคุณภาพมาตรฐานที่จะได้รับ ด้วยกลยุทธ์ Price Effect Quality
Package Price Service : บริการพิเศษแบบแพคเกจให้ลูกค้าเลือก ด้วยกลยุทธ Price Discrimination รับเหมาบริการให้หมด ทั้งเรื่องการเดินทาง วีซ่า ที่พัก โปรแกรมทัวร์ บริการทางด้านสุขภาพ เหล่านี้เป็นต้น
Privilege Price การให้สิทธิพิเศษกับลูกค้าประจำ
Agent Priceให้ส่วนลดกับเอเจนซี่ท่องเที่ยวเป็นพิเศษ
กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาด IMC (Integrated Marketing Communication Strategy)
Awareness – เน้นการสร้าง Brand Awareness สร้างความรับรู้ที่ดีในสายตาผู้บริโภค การสร้างความรู้สึกที่ดีต่อลองสเตย์ของไทย
Interest (concern) - ทำให้ผู้บริโภครู้ว่าเมืองไทยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแบบลองสเตย์ที่มีคุณภาพของโลก ค่าครองชีพไม่สูง และคนไทยมีการบริการที่เป็นมิตรมีอัธยาศัยและให้การบริการที่ดี สถานที่ท่องเที่ยวมีความสวยงาม
Accept - ให้กลุ่มเป้าหมายยอมรับและเข้าใจการท่องเที่ยวแบบลองสเตย์ของไทย
Action - การให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจท่องเที่ยวแบบลองสเตย์ และตอบสนองจุดประสงค์ของโครงการ
Remind – ย้ำเตือนให้เกิดพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบลองสเตย์ของนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายอย่างต่องเนื่อง
การโฆษณา (Advertising)
:
การประชาสัมพันธ์
เพื่อการสร้างความรู้สึกที่ดี ความเข้าใจที่ถูกต้องของยุทธศาสตร์ลองสเตย์ ภายใต้แนวคิด ��Beautiful Thai , Beautiful Mind�� และสร้างทัศนคติที่ดีทั้งต่อผู้บริโภค ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายรวมถึงคนในชุมชนที่ต้องเข้าใจผลประโยชน์จากยุทธศาสตร์ Paradise Community ทั้งผลดีและผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อการพัฒนาให้เป็นยุทธศาสตร์ในการแข่งขันที่สำคัญของไทยในตลาดโลก
การสร้างได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน (Sustainable Development for Competitive Strategy)
กลยุทธ์ของภาครัฐเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบลองสเตย์
ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษา
2545. รายงานการวิจัยเรื่องแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวพำนักระยะยาว : กรณีศึกษาเฉพาะนักท่องเที่ยวอายุ 50 ปีขึ้นไปที่เดินทางมาเพื่อการพักผ่อน.
กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว
กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว
www.tat.or.th/longstay
www.tourism.go.th
(สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว , Office of Tourism Development)
All Rights Reserved Powered by Free Document Search and Download
Copyright © 2011