Home > แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

 

 

 
 

     ภาคที่  1

แผนหลักการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 

แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

บทที่ 1

วัตถุประสงค์  ขอบเขต  และหลักการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 

ภาคที่  1  แผนหลักการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

อ้างถึง  แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ  พ.ศ.  2548 

    1. สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

      จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป  เช่น  ความแปรปรวนของภูมิอากาศ  ความไม่สมดุลของระบบ

นิเวศน์  ทำให้สาธารณภัยมีแนวที่จะทวีจำนวนความถี่และความรุนแรงเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นสาธารณภัยมีแนวโน้มที่จะทวีจำนวนความถี่และความรุนแรงเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นสาธารณภัยที่เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  และสาธารณภัยที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์  ขณะเดียวกันการที่ประเทศไทยมีการพัฒนาและเจริญก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมได้ส่งผลให้ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นมีความหลากหลายและความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

            ดังนั้น  การจัดระบบบริหารจัดการให้เข้มแข็ง  จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง  จำเป็นต้องมีการทบทวนหรือปรับปรุงแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนให้สอดคล้องกับสถานการณ์อยู่เสมอเพื่อเตรียมความพร้อมไว้รองรับสถานการณ์และเพื่อเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้การปฏิบัติงาน      ในภาวะฉุกเฉินสามารถดำเนินไปได้อย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

    1. นิยามศัพท์

    1.2.1  ภัยฝ่ายพลเรือน  หมายถึง  ภัยพิบัติที่สร้างความสูญเสียแก่ชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนหรือรัฐอย่างกว้างขวางและรุนแรง  ได้แก่  สาธารณภัย  ภัยทางอากาศและการก่อวินาศกรรม จนชุมชนนั้น ๆ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้  จึงจำเป็นต้องได้รับการบำบัดช่วยเหลือและฟื้นฟูบูรณะให้กลับคืนสู่สภาพเดิมอย่างรีบด่วน

      1. การป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน  หมายถึง  การดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ป้องกันภัยฝ่ายพล

เรือนในการป้องกันและบรรเทาอันตรายหรือความเสียหายอันเนื่องจากสาธารณภัย  ภัยทางอากาศ หรือการก่อวินาศกรรม  ไม่ว่าการดำเนินการนั้นจะได้กระทำก่อนเกิดภัย  ขณะเกิดภัยหรือภายหลังที่ภัยได้ผ่านพ้นไปแล้วและหมายความรวมถึงการอพยพประชาชนและส่วนราชการเพื่อการนั้น

      1. สาธารณภัย  หมายถึง  ภัยอันมีมาเป็นสาธารณะไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติหรือมีผู้ทำให้

เกิดขึ้น  ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายของประชาชน  หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือรัฐ

            ศัพท์อื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้อง มีความหมายตามกฎหมายที่อ้างถึง 

1.3  วัตถุประสงค์

      วัตถุประสงค์ของแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ

      1. เพื่อให้การปฏิบัติงานการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนขององค์การบริหารส่วนตำบลนาแสง                  มีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างมีระบบ
      2. เพื่อจัดระบบการดำเนินงานและเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ไว้รองรับสถานการณ์ภัย

พิบัติตามลักษณะความเสี่ยงภัยในทุกขั้นตอนของการดำเนินการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนทั้งในช่วงก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย  และภายหลังที่ภัยได้ผ่านพ้นไปแล้ว

      1. เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการป้องกัน การเตรียมความพร้อม  การระงับและบรรเทา

และการฟื้นฟูบูรณะ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในทุกสถานการณ์

      1. เพื่อให้หน่วยงานและส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนของ

องค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาได้ทราบและเข้าใจภารกิจ หลักการ ขั้นตอน และวิธีการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน

      1. เพื่อให้ภาคเอกชน องค์การ/มูลนิธิการกุศลและประชาชนได้มีส่วนร่วมในการป้องกันภัย

ฝ่ายพลเรือน

1.4  ขอบเขตการปฏิบัติ

          สาธารณภัย ได้แก่ การป้องกันและบรรเทาภัยจาก อุทกภัย วาตภัยภัยแล้ง ภัยจากอากาศหนาว

1.5  นโยบาย

            1.5.1  ให้ถือว่าการรักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่ประสบภัยเฉพาะหน้าเป็นความเร่งด่วนสูงสุดซึ่งรัฐมีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจอันชอบด้วยเหตุผลของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ

      1. ให้กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่  จัดทำแผนปฏิบัติการในการป้องกันภัย

ฝ่ายพลเรือนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ  ให้ครอบคลุมถึงภัยฝ่ายพลเรือนตามสถานการณ์ความเสี่ยงภัยรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่ กำหนดระบบการปฏิบัติทุกขั้นตอน ได้แก่ การป้องกันการเตรียมความพร้อม  การปฏิบัติเมื่อเกิดภัยการฟื้นฟูบูรณะ โดยกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบไว้ให้ชัดเจนรวมทั้งดำเนินการฝึกซ้อมแผนเพื่อให้มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกโอกาสที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น

      1. ในกรณีเกิดภัย  ให้ผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่ ดำเนินการตามแผน

ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในเขตรับผิดชอบของตนด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ไปก่อน แล้วจึงรายงานตามสายการบังคับ

บัญชา

      1. ให้เผยแพร่ความรู้และข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ

และประชาชนอย่างทั่วถึง ตลอดจนส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ประชาชน เตรียมป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของ

หน่วยงาน และของตนเอง

1.6 หลักการปฏิบัติ

            1.6.1  ภารกิจ

                  รับผิดชอบในการป้องกันและบรรเทาอันตรายแก่ชีวิตร่างกายของประชาชน    ทรัพย์สินของประชาชนและของรัฐตลอดจนการฟื้นฟูบูรณะสิ่งเสียหายอันเนื่องมาจากภัยฝ่ายพลเรือนตามระดับความรุนแรงของภัย

            1.6.2  สมมติฐาน

                  1.6.2.1  สาธารณภัยมีแนวโน้มที่จะทวีจำนวนความถี่ ความรุนแรงและความซับซ้อนเพิ่มขึ้น  ทำให้ความสูญเสียทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนของรัฐเพิ่มสูงมากกว่าที่ผ่านมารวมทั้งการระงับและการบรรเทาภัยจะต้องกระทำด้วยความยากลำบากกว่าที่ผ่านมาเช่นเดียวกัน

                  1.6.2.2 เมื่อมีภัยเกิดขึ้น    ส่วนราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชนและชุมชน มีขีดความสามารถในการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของหน่วยงานและของตนเองได้ในระดับหนึ่ง

            1.6.3  หลักการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

                  1.6.3.1  กองอำนวยการป้องกันภัยพลเรือนเขตท้องที่  จะรับผิดชอบในการอำนวยการ  ควบคุม    กำกับดูแล    สั่งการและดำเนินการต่าง ๆ   ในการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนทุกขั้นตอน     ภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบของตน ตามศักยภาพของหน่วยงาน และขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานข้างเคียงเมื่อประเมินว่าไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้

        1.6.3.2  การจัดตั้งระบบการสื่อสาร  ในการรับ  และแจ้งข่าวระหว่างหน่ายงานต่าง ๆ

ไว้ตั้งแต่ยามปกติ   โดยสามารถรับและแจ้งข่าวซึ่งกันและกันได้สะดวกรวดเร็วทันเหตุการณ์และโดยต่อเนื่อง

ตลอด 24 ชั่วโมง เบอร์โทรศัพท์  042-49 – 2004-5, 042-49 – 1788,  และ  087-2223235

                  1.6.3.3  เมื่อมีการประกาศกฎอัยการศึก  หรือมีคำสั่งจากผู้อำนวยการป้องกัน

ภัยฝ่ายพลเรือนแห่งราชอาณาจักร  กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่จะปรับสภาพเป็นศูนย์

ปฏิบัติการพิทักษ์พื้นที่ส่วนหลังขึ้น  การควบคุมทางยุทธการต่อฝ่ายทหารเพื่อปฏิบัติการพิทักษ์พื้นที่ส่วนหลัง

ในเขตพื้นที่นั้น

      1. ความรุนแรงของสาธารณภัย

        ความรุนแรงของภัยแบ่งได้เป็น  3  ระดับ  ดังนี้

        1. ความรุนแรงระดับ 1  สาธารณภัยที่เกิดขึ้นทั่วไปหรือมีขนาดเล็กซึ่งกอง

อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่สามารถควบคุมสถานการณ์ และจัดการระงับภัยได้โดยลำพัง

                  1.6.4.2  ความรุนแรงระดับ  2   สาธารณภัยขนาดกลาง  ซึ่งต้องอาศัยการสนับสนุน

ความช่วยเหลือจากหน่วยงานหลายส่วนราชการกภายในเขตจังหวัด  หรือจังหวัดใกล้เคียง ผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนอำเภอ  เทศบาล   ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์และจัดการระงับภัยได้  ผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัด  จะต้องควบคุมสถานการณ์

                  1.6.4.3  ความรุนแรงระดับ  3  สาธารณภัยขนาดใหญ่  ที่มีผลกระทบรุนแรงกว้างขวาง หรือสาธารณภัยที่จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรืออุปกรณ์พิเศษ  ต้องระดมความช่วยเหลือจากทุกส่วนราชการ ภาคเอกชนและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัดไม่สามารถที่จะควบคุมสถานการณ์และระงับภัยได้  ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกจังหวัด  และ  หรือกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนภาค    ผู้อำนวยการป้องกันภัย    ฝ่ายพลเรือนแห่งราชอาณาจักร  หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้อำนวยการเหตุการณ์ 
 

แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

บทที่  2

การเตรียมการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

 

ภาคที่  1  แผนหลักการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

อ้างถึง     แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ  พ.ศ. 2548

 

2.1  บทนำ

            งานที่มีความสำคัญต่อการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน  ได้แก่  การจัดเตรียมและหาวิธีการป้องกันมิให้เกิดภัยขึ้นหรือแก้ไขปัญหาอุปสรรคไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดภัยขึ้น  เพื่อลดผลกระทบที่เป็นอันตรายและการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินทั้งภาครัฐ  ภาคเอกชน  และประชาชนร่วมกันปฏิบัติตั้งแต่ยามปกติ

2.2  วัตถุประสงค์

      1. เพื่อเตรียมการต่าง ๆ  ที่จำเป็น  ให้สามารถเผชิญภัยพิบัติต่าง ๆ  ตั้งแต่ยามปกติ
      2. เพื่อให้การปฏิบัติการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเป็นไปอย่างมีระบบไม่สับสนส่งผลต่อการลด

อันตรายและความสูญเสียให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด

            2.2.3    เพื่อวางระบบการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนให้สอดคล้องส่งเสริมต่อการรักษาความมั่นคงของชาติ

2.3  นโยบาย

            2.3.1    ปรับปรุงและพัฒนาระบบการวางแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่ให้มีความทันสมัย  สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยของพื้นที่  และสามารถนำไปปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริง  และจัดให้มีการฝึกซ้อมการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนอย่างสม่ำเสมอ

            2.3.2  ปรับปรุงและพัฒนาระบบการฝึกอบรมเกี่ยวกับการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน  ให้มีความทันสมัย  ได้มาตรฐาน  เพื่อสร้างความพร้อมแก่บุคลากรด้านการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 

            2.3.3 ส่งเสริมให้มีการประสานงานและร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องในการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ในภาวะปกติ

            2.3.4  ให้มีการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์  เผยแพร่ความรู้และข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน  แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง  เพื่อสร้างจิตสำนึกและตระหนักในการป้องกันและระงับภัยที่อาจเกิดขึ้น  โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนในสถานศึกษา  ผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการ  และประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยประเภทต่าง ๆ 

            2.3.5  ส่งเสริมให้ประชาชน  และภาคเอกชน  ได้มีส่วนร่วมในการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนโดยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรม  พาณิชยกรรมขนาดใหญ่  และเจ้าของอาคารสูงได้จัดวางระบบการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในบริเวณอาคารสถานที่ของตน 
 
 
 

2.4  การปฏิบัติ

            2.4.1  หลักปฏิบัติ

                  เตรียมการป้องกันภัยตั้งแต่ยามปกติ  โดยเน้นความสำคัญของการเตรียมการล่วงหน้าในรูปแบบวิธีการป้องกัน  เพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากภัย      การจัดระบบหน้าที่ความรับผิดชอบ      และการอำนวยการปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

            2.4.2  การเตรียมคน  อุปกรณ์  และเครื่องมือเครื่องใช้

                  2.4.2.1  จัดเตรียมเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนให้ครบถ้วนทุกหน้าที่  ซักซ้อม  ฝึกซ้อม  อบรม  และกำหนดวิธีการปฏิบัติตามหน้าที่และขั้นตอนต่าง ๆ  ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

        1. จัดตั้งหน่วยอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเพื่อช่วยเหลือทางราชการ
        2. จัดหาผู้เชี่ยวชาญหรือเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ        หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง 

เพื่อช่วยในการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน หรือความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพพิเศษต่าง ๆ  ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามแผนนี้

                  2.4.2.4  ประสานการเตรียมการกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง  ในการจัดเตรียมกำลังคน  วัสดุอุปกรณ์  เครื่องมือเครื่องใช้  และจัดหางบประมาณสนับสนุนตามความเหมาะสมและจำเป็น

                  2.4.2.5 สำรวจจัดระเบียบ  และดำเนินการระบบการพิทักษ์ประชาชนและทรัพยากรในเขตพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ  สามารถตรวจสอบแยกฝ่ายและใช้ประโยชน์ในขั้นตอนต่าง ๆ ของการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                  2.4.2.6  สำรวจและจัดทำบัญชีเตรียม  กำลังคน  สถานที่ วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ของราชการฝ่ายพลเรือน  รัฐวิสาหกิจ  และเอกชน  ในพื้นที่เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 

2.4.3  การจัดระบบปฏิบัติการ

                  2.4.3.1  จัดให้มีการจัดทำแผนการปฏิบัติและแผนสำรองของเจ้าหน้าที่และมีการซักซ้อมตั้งแต่ยามปกติ  เพื่อให้มีความพร้อมที่จะปฏิบัติได้ทันที  เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น

                  2.4.3.2 จัดให้มีการติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ  ระหว่างหน่วยปฏิบัติต่าง  ๆ  ขององค์กรป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน  ตลอดจนการติดต่อสื่อสารภายในขององค์กรต่าง ๆ  เหล่านั้น

                  2.4.3.3  กำหนดแนวทางและดำเนินการใช้การส่งวิทยุกระจายเสียง  วิทยุโทรทัศน์  รวมถึงระบบการกระจายข่าวท้องถิ่น  เช่น  เสียงตามสาย  หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน  เพื่อสนับสนุนการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนอย่างต่อเนื่อง

                  2.4.3.4  กำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัย  ความสงบเรียบร้อย  รวมทั้งการควบคุมการจราจร  การสัญจรภายในเขตพื้นที่

                  2.4.3.5  จัดให้มีข่าวแจ้งเตือน      สัญญาณเตือนภัยให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ได้รับทราบล่วงหน้าถึงภัยที่อาจเกิดขึ้น  เพื่อสามารถเตรียมป้องกันชีวิตและทรัพย์สินให้ปลอดภัยได้ทันเวลา

        2.4.3.6  ประเมินสถานการณ์   และผลการปฏิบัติ  เพื่อพัฒนาระบบการป้องกันภัยฝ่ายพล-

เรือน  ให้สามารถลดโอกาสการเกิดภัยได้มากที่สุดเป็นสำคัญ  รวมทั้งสามารถกู้ภัย  บรรเทาภัย และฟื้นฟูบูรณะได้รวดเร็วและมีประสิทธิผล

   2.4.4  จัดให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และประชาชน

                  2.4.4.1  กำหนดแผน  และนโยบายการให้ความรู้  และการฝึกอบรม  การประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน  จัดสรรงบประมาณให้การสนับสนุน  ประเมินผลพัฒนาและประสานการให้ความรู้  และการฝึกอบรมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นส่วนรวม

                  2.4.4.2   ให้ความรู้ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ตามแผนและนโยบายขององค์การบริหารส่วนตำบล

                  2.4.4.3  ดำเนินการตามแผนและนโยบายการให้ความรู้  และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และประชาชนด้านการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

                  2.4.4.4  การให้ความรู้   และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และประชาชนเพื่อการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน  มีวิธีการปฏิบัติดังนี้

                  1)  ประชาชนทั่วไป  ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภัยประเภทต่าง  ๆ  ให้สามารถป้องกันและช่วยเหลือตนเองได้

                        -  เผยแพร่ความรู้โดยการประชาสัมพันธ์ทางสื่อมวลชน

                        -  ให้การอบรมเกี่ยวกับการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

                        -  จัดกิจกรรมเชิงสาธิตในเรื่องการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

                        -  ส่งเสริมให้องค์กรภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

                  2)  อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน  เป็นการฝึกอบรม  จัดตั้งการสั่งใช้  เพื่อช่วยเหลือทางราชการ

                  3)  เจ้าหน้าที่  เพื่อให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่มีความคุ้นเคย  และคล่องแคล่ว

                        ในการปฏิบัติตลอดจนให้มีการฝึกความพร้อมและพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน 

                        -  การให้ความรู้และการฝึกอบรมเฉพาะหน้าที่สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในแต่ละฝ่าย  เพื่อความคุ้นเคยในการทำงาน

                  2.4.4.5   หลักสูตรการฝึกอบรม

          1. หลักสูตรอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
          2. หลักสูตรการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
          3. หลักสูตรการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

            2.4.5  การจัดทำผังเมือง

                  กำหนดให้มีการจัดวางผังเมืองและการใช้พื้นที่ครอบคลุมทุกพื้นที่  เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ   ศึกษาผลกระทบความรุนแรงจากสาธารณภัยและกำหนดความเร่งด่วนของพื้นที่วิกฤตที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดสาธารณภัยตามลำดับความรุนแรงของผลกระทบ 
 

          2.4.6  การสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัย

                  สำรวจ  วิเคราะห์พื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติเป็นประจำ  หรือเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติ  แยกตามประเภทของภัย  ระบุรายละเอียดของพื้นที่และจัดทำแผนที่ประกอบ  เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนป้องกันและแก้ไขภัยพิบัติตามลำดับความสำคัญเร่งด่วน  โดยดำเนินการ  ดังนี้

        1. จัดทำแบบข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแต่ละประเภท
        2. สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบพื้นฐานของความเสี่ยงภัย
        3. ตรวจสอบสถิติการเกิดภัย
        4. แบ่งแยกลักษณะการเกิดภัยของแต่ละประเภท
        5. ระบุรายละเอียดข้อมูลที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์ความรุนแรงของภัย  เช่น  ชื่อหมู่บ้าน  ตำบล  จำนวนประชากร  จำนวนครัวเรือน  สถานที่ตั้ง  ลักษณะของอันตรายที่จะเกิดความเสียหายที่อาจได้รับพื้นที่ปลอดภัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

บทที่  3

การฟื้นฟูบูรณะ

 

ภาคที่  1  แผนหลักการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

อ้างถึง     แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ  พ.ศ. 2548

    1. บทนำ 

      การฟื้นฟูบูรณะภายหลังที่ภัยได้ยุติลงหรือผ่านพ้นไปแล้วเป็นการดำเนินการทั้งปวงเพื่อช่วยเหลือ

ผู้ประสบภัย  ซ่อมแซมสิ่งที่ชำรุดเสียหายให้กลับคืนสู่สภาพเดิม  เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการทุกส่วน     เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจของประชาชนให้กลับคืนสู่สภาพปกติ

    1. วัตถุประสงค์

      3.2.1  เพื่อบรรเทาทุกข์ขั้นต้นแก่ประชาชนที่ประสบภัยอย่างรวดเร็วต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

          3.2.2  เพื่อให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือ   ประชาชนผู้ประสบภัยให้สามารถดำรงชีวิตได้ตามปัจจัยสี่

อย่างเพียงพอ

            3.2.3  เพื่อฟื้นฟูบูรณะสภาพพื้นที่ที่ประสบภัยให้กลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว

    1. นโยบาย

            3.3.1  ให้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ     และองค์กรภาคเอกชนในการสงเคราะห์ผู้ประสบภัยให้เป็นไปอย่างมีระบบ  รวดเร็ว  ทั่วถึง  และหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนในการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย  โดยจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ประสบภัยไว้เป็นหลักฐานเพื่อการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย

            3.3.2  ให้รื้อถอนซากปรักหักพัง  และซ่อมแซมสิ่งสาธารณูปโภค  โครงสร้างพื้นฐานและอาคารบ้านเรือนของผู้ประสบภัย  เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้

            3.3.3  ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างขวัญและกำลังใจของประชาชนให้กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว

3.4  การปฏิบัติ

            การฟื้นฟูบูรณะเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนทุกระดับ  โดยการนำทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งกำลังคน ทรัพย์สิน  เครื่องมือ  ของรัฐและเอกชน  เข้าร่วมในการฟื้นฟูบูรณะ  เพื่อมุ่งหมายให้ประชาชนผู้ประสบภัยได้รับความช่วยเหลือสงเคราะห์แบบให้เปล่า  และเชิงการกุศลอย่างทันที  ดังนี้

      1. คณะอนุกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย      ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ

ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ   เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยที่เกิดขึ้นทั่วราชอาณาจักร  ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน  พ.ศ.  2522  และอนุมัติวงเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยในปัญหาเฉพาะหน้าจากวงเงินงบกลาง  รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี

            3.4.2  คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด  (ก.ช.ภ.จ.)  มีหน้าที่สำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นภายในจังหวัดเพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน  พ.ศ.  2546  และหลักเกณฑ์ที่กำหนด

            3.4.3   คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ/กิ่งอำเภอ (ก.ช.ภ.อ./กอ.)มีหน้าที่สำรวจความเสียหายจากภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินในเขตพื้นที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอ เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ  ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน  พ.ศ.  2546  และหลักเกณฑ์ที่กำหนด

            3.4.4  การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ  ให้เป็นไปตามกฎหมาย  ระเบียบ  ที่กำหนด  และให้ประสานการให้ความช่วยเหลือกับกองอำนวยการการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งราชอาณาจักร

            3.4.5  ขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูบูรณะ

                  3.4.5.1  การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูบูรณะขั้นต้น  โดยจัดตั้งหน่วยบรรเทาทุกข์เพื่อปฏิบัติการในขั้นต้นร่วมกับหน่วยระงับภัยอย่างต่อเนื่อง  ดังนี้

          1. การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บและผู้ป่วย
          2. การขนย้ายผู้ประสบภัยและทรัพย์สินไปยังที่ปลอดภัย
          3. การเลี้ยงดูผู้ประสบภัยที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ในระยะแรก
          4. การรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยแก่บุคคลและสถานที่ร่วมกับหน่วยงานรักษาความปลอดภัยในพื้นที่
        1. การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูบูรณะโดยหน่วยสงเคราะห์ผู้ประสบภัยหลังจาก

การช่วยเหลือของหน่วยบรรเทาทุกข์ขั้นต้น  ดำเนินการดังนี้

          1. สำรวจความเสียหาย  และความต้องการด้านต่างๆ  ของผู้ประสบภัยทั้งภาครัฐและเอกชน  โดยจัดทำบัญชีเป็นประเภทไว้
          2. สงเคราะห์ผู้ประสบภัย  ตามบัญชีที่สำรวจ  โดยให้มีมาตรการและระเบียบที่รัดกุดสามารถสงเคราะห์ได้เรียบร้อยทั่วถึง
          3. ดำเนินการช่วยเหลือซ่อมแซมที่พักอาศัย  สิ่งสาธารณูปโภคและเส้นทางคมนาคมให้พอใช้การได้ในเบื้องต้น
          4. การปฏิบัติการประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างขวัญและกำลังใจของประชาชนให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็ว
          5. การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วย  และการจัดบริการด้านสาธารณสุขแก่ผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง
          6. การป้องกันโรคระบาดทั้งคนและสัตว์
        1. จัดตั้งหน่วยควบคุมความปลอดภัยเพื่อป้องกันมิให้เกิดภัยซ้ำขึ้นอีก  หรือมิให้เกิด

อันตรายจากวัตถุระเบิดหรือสารพิษตกค้าง  โดยพิจารณาจัดเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องต่าง ๆ  ตามความเหมาะสม  ดังนี้

          1. การรื้อถอนหรือทำลายสิ่งปรักหักพัง
          2. การทำลายล้างวัตถุระเบิด
          3. การล้างสารพิษตกค้างต่าง ๆ
          4. การรักษาความสงบเรียบร้อยและการจราจร
      1. กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่  กำกับดูแลและอำนวยการหน่วยบรรเทา

ทุกข์หน่วยสงเคราะห์ผู้ประสบภัยให้ดำเนินการด้วยความเรียบร้อย พร้อมทั้งช่วยเหลือประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน  เพื่อระดมสรรพกำลังในพื้นที่เข้าสงเคราะห์ผู้ประสบภัย

      1. กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่  เข้าดำเนินการซ่อมแซมสิ่งสาธารณ

ประโยชน์  สิ่งสาธารณูปการให้กลับใช้งานได้ตามปกติโดยเร็ว  หากการช่วยเหลือเกินกำลังความสามารถที่จะกระทำได้ให้ขอความช่วยเหลือต่อกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งราชอาณาจักร 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ภาคที่  2 

กระบวนการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

ด้านสาธารณภัย 

แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

บทที่  1

การป้องกันภัยและบรรเทาภัยจากอุทกภัย  วาตภัย   

ภาคที่  2  กระบวนการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนด้านสาธารณภัย

อ้างถึง  แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ  พ.ศ.  2548 

1.1  บทนำ

            เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาเผชิญกับอุทกภัย  วาตภัย  เป็นประจำทุกปี  ทำให้ได้รับผลกระทบจากพายุต่าง  ๆ  ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  และเกิดความสูญเสียทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมากภารกิจในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจากอุทกภัย  วาตภัย  จึงต้องมีการเตรียมพร้อมอยู่เสมอ

            เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและบรรเทาอันตราย  และลดความเสียหายจากอุทกภัย  วาตภัย  ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น  อันเป็นผลทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน  ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลา  จึงได้จัดทำแผนป้องกันภัยและบรรเทาภัยจากอุทกภัย  วาตภัย  ขึ้น

1.2  วัตถุประสงค์

            1.2.1  เป็นแนวทางในการเตรียมการป้องกัน  และการประสานการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงานต่าง  ๆ  ที่เกี่ยวข้อง  ทั้งหน่วยปฏิบัติการหลักและหน่วยร่วมปฏิบัติการ  เพื่อให้สามารถดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุทกภัย  วาตภัย  ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

            1.2.2  เป็นการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไว้ให้พร้อมต่อการปฏิบัติงานในระยะก่อนเกิดภัย  ขณะเกิดภัย  และภายหลังที่ภัยได้ผ่านพ้นไปแล้ว

1.3  ขั้นตอนการปฏิบัติ

            1.3.1  ขั้นตอนก่อนเกิดภัย 

                  1.3.1.1  จัดทำและปรับปรุงข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยจากอุทกภัย  วาตภัย  รวมทั้งข้อมูลที่ปลอดภัย  เพื่อรองรับการอพยพโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่  กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จังหวัด  อำเภอ  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                  1.3.1.2  จัดทำแผนเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย  วาตภัย   โดยมีการบูรณาการแผนร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ทั้งภาครัฐ  ภาคเอกชน  มูลนิธิ  และองค์กรการกุศล        1.3.1.3  จัดเตรียมกำลังคน  วัสดุ  อุปกรณ์  เครื่องมือ  เครื่องใช้  รวมทั้งจัดชุดเฝ้าระวังและชุดเคลื่อนที่เร็วให้พร้อมปฏิบัติการได้ทันทีเมื่อมีภัยเกิดขึ้น     

            1.3.1.4  การฝึกซ้อม  แผนในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิด  อุทกภัย  วาตภัย  โดยจังหวัด  อำเภอ 

และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  บูรณาการฝึกร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                  1.3.1.5  การแจ้งเตือนภัย  โดยให้มีรายงานข้อมูลที่จำเป็น  คือ

                        1)  ข่าวอากาศและคำเตือนมีการคาดหมายกำลังลม  ปริมาณฝน  และพื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดอุทกภัย  วาตภัย 

                        2)  ระดับน้ำในแม่น้ำระดับสูงสุด  และต่ำสุด  บริเวณที่คาดว่าจะเกิดน้ำท่วม

                  1.3.1.6  จัดหาพื้นที่รองรับน้ำและกักเก็บน้ำบนพื้นที่ต้นน้ำลำธารและขุดลอกคลอง  แหล่งน้ำสาธารณะเพื่อการระบายน้ำ 

                  1.3.1.7  การประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการประชาสัมพันธ์  ข่าวการพยากรณ์อากาศ  และระดับน้ำเพื่อกระจายข่าวสารไปยังส่วนราชการและประชาชน  เพื่อประโยชน์ในการป้องกันภัยเป็นการล่วงหน้า       

            1.3.2  ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเกิดภัย

                  1.3.2.1  เมื่อได้รับแจ้งเหตุว่าเกิดอุทกภัย  วาตภัย  ขึ้นในพื้นที่ของตนเองแล้วให้ดำเนินการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยเร่งด่วน  ดังนี้

          1. การช่วยชีวิตผู้ประสบภัย  ให้ถือว่าเป็นหน้าที่ที่สำคัญเป็นลำดับแรก
          2. การเคลื่อนย้ายทรัพย์สินของประชาชนและทรัพย์สินของทางราชการ  ไปไว้

ในพื้นที่ปลอดภัย

                        3)  จัดส่งเครื่องอุปโภค  บริโภค น้ำดื่ม  ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ  เข้าไปยังพื้นที่เกิดเหตุโดยเร่งด่วน

                        4)  กรณีที่เกินขีดความสามารถ  ให้ขอรับการสนับสนุนไปยังกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนชั้นเหนือขึ้นไป  หรือกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่ใกล้เคียง

          1. กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนที่ได้รับการร้องขอการสนับสนุนให้ส่ง

ความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ  เช่น  กำลังเจ้าหน้าที่  เครื่องมือเครื่องใช้  วัสดุอุปกรณ์  เครื่องอุปโภคบริโภค  เวชภัณฑ์  ยารักษาโรค  ไปยังพื้นที่ที่เกิดเหตุได้โดยตรง 

          1. สำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือตามขีดความสามารถของตน
          2. จัดระบบการรักษาความสงบเรียบร้อย  ความปลอดภัย  ในบริเวณพื้นที่อพยพ 

และให้การสงเคราะห์ราษฎร  ซึ่งอาจใช้กำลังประชาชนสนับสนุนการปฏิบัติงานตามความเหมาะสม

                        8)  การรายงานความเสียหายและความช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้ดำเนินการเป็นระยะไปยังกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัด  พร้อมกับกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัด  พร้อมกับกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งราชอาณาจักร         เพื่อให้หน่วยเหนือได้ทราบข้อมูลอย่างเป็นปัจจุบันจนกว่าเหตุการณ์จะยุติ

                  1.3.2.2  กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัด  ให้เข้าควบคุมสถานการณ์  เมื่อเกิดเหตุอุทกภัย  วาตภัย  ในพื้นที่จังหวัด  หากเกินขีดความสามารถของหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ ให้จัดส่งเจ้าหน้าที่  วัสดุอุปกรณ์  เครื่องมือเครื่องใช้  ให้การสนับสนุนไปยังพื้นที่เกิดเหตุ  และรายงานให้กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งราชอาณาจักรทราบ

                  1.3.2.3  สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน  มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลความเสียหาย  และการช่วยเหลือเป็นระยะเพื่อประโยชน์ในการสั่งการ  อำนวยการของการอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งราชอาณาจักร  และมีหน้าที่ในการประสานงานกับหน่วยงานในส่วนกลาง  เพื่อขอรับการสนับสนุนเครื่องมือ  เครื่องใช้  วัสดุอุปกรณ์  กำลังเจ้าหน้าที่ต่าง  ๆ  ที่จำเป็นในการป้องกันและบรรเทาภัย

                  1.3.2.4  หน่วยสนับสนุน  ได้แก่  กระทรวงกลาโหม  กระทรวงมหาดไทย  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ   รัฐวิสาหกิจ   มูลนิธิ   องค์กรการกุศล    และองค์กรประชาชน    รวมทั้งประชาชน  มีหน้าที่สำรวจเครื่องมือเครื่องใช้  กำลังเจ้าหน้าที่ของตนเพื่อประโยชน์ในการสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาภัยจากอุทกภัย  วาตภัย    โดยให้มีการประสานงาน  ดังนี้

          1. หน่วยงานในส่วนกลางให้ประสานงานเพื่อให้การสนับสนุนกับสำนักเลขาธิการ

ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

          1. หน่วยงานในพื้นที่อื่น  ๆ     นอกจากส่วนกลางให้ประสานงานเพื่อให้การ

สนับสนุนกับกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนที่ร้องขอ  หรือ  กองอำนวยการเขตท้องที่ที่เกิดเหตุได้โดยตรง

                        3)  เมื่อกำลังของหน่วยสนับสนุนมาถึงแล้ว  ให้รายงานต่อผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่  ณ  ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจเพื่อประสานการปฏิบัติ

                        4)  ให้ปฏิบัติงานตามการสั่งการของผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่หรือผู้ได้รับมอบหมาย  และรายงานสถานการณ์ให้ผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่เจ้าของพื้นที่หรือผู้ได้รับมอบหมายทราบทุกระยะ

            1.3.3  ขั้นตอนการฟื้นฟูบูรณะ

                        1.3.3.1  ให้การรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บ  ผู้ป่วยโดยสถานพยาบาลในระดับอำเภอ 

เพื่อรักษาชีวิตผู้ได้รับอันตรายในระยะแรก  เมื่อเกินขีดความสามารถให้จัดส่งไปยังสถานพยาบาลระดับจังหวัด  หรือสถานพยาบาลอื่นที่สามารถให้การรักษาพยาบาลได้

          1.3.3.2  สำรวจความเสียหายทุกด้านอย่างละเอียด  ทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สินของ

ประชาชน  และสิ่งสาธารณประโยชน์  เพื่อประโยชน์ในการให้ความช่วยเหลือ

          1.3.3.3  จัดการประชาสัมพันธ์  เพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจและสร้างความเชื่อมั่นใน

การให้ความช่วยเหลือของทางราชการ  ต่อผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่และเท่าเทียมกัน

          1.3.3.4  การซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย  โดยดำเนินการตามที่พิจารณาเห็นว่าเป็นสิ่งที่

สามารถซ่อมแซมได้  และดำเนินโดยเร็วเพื่อให้สามารถใช้การได้ตามปกติ  ในกรณีที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้ให้จัดการรื้อถอนออกไปเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

          1.3.3.5  ให้กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่ที่เกิดเหตุดำเนินการ

ฟื้นฟูบูรณะความเสียหายในเบื้องต้นโดยงบประมาณที่อยู่ในความรับผิดชอบ  กรณีที่เกินขีดความสามารถให้ขอรับการสนับสนุนจากหน่วยเหนือตามลำดับ 

                                  แผนเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง

                       องค์การบริหารส่วนตำบลนาแสง  อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ 
 

บทนำ

      ลักษณะสภาพอากาศของประเทศไทยช่วงระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนพฤษภาคม  โดยทั่วไปจะ

เกิดความแห้งแล้งและมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น   โดยจะขึ้นสูงสุดในเดือนเมษายนซึ่งอาจมีอุณหภูมิสูงสุดถึง  40 – 43  องศาเซลเซียส  เป็นผลให้มีสภาพอากาศร้อนอบอ้าวและอากาศร้อนจัดเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ  ประกอบกับปริมาณน้ำฝนที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าปกติ  อาจทำให้หลายพื้นที่ของประเทศไทยต้องประสบกับความแห้งแล้ง  การขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค  รวมทั้งน้ำเพื่อการเกษตรโดยทั่วไป

            ปัจจุบันในบางพื้นที่ของประเทศไทยยังคงมีพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่องและยาวนานเป็นประจำทุกปี  จำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง   รวมทั้งการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ประสบภัยแล้ง  การประสานการปฏิบัติรวมทั้งการสนับสนุนการปฏิบัติ

ตามแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

วัตถุประสงค์

            1เป็นแนวทางในการเตรียมการป้องกันและประสานการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ              ที่เกี่ยวข้อง  ทั้งหน่วยปฏิบัติการหลักและหน่วยร่วมปฏิบัติการ  เพื่อให้สามารถดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

            2 เป็นการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไว้ให้พร้อมต่อการปฏิบัติงานในระยะก่อนเกิดภัย  ขณะเกิดภัย  และภายหลังที่ภัยได้ผ่านพ้นไปแล้ว 

ขั้นตอนการปฏิบัติ

            การปฏิบัติงานเพื่อการป้องกันและบรรเทาภัยจากภัยแล้งให้วางมาตรการและแนวทางเพื่อการเตรียมรับสถานการณ์ภัยแล้ง  และการเผชิญภัยตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

ขั้นตอนก่อนเกิดภัย

                  .1  สำรวจอ่างเก็บน้ำ  เขื่อน  สระน้ำ  ทำนบ  เหมือง  ฝาย  เพื่อการเตรียมแหล่งน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งตามความเหมาะสมตามจำนวนประชาชนที่ต้องการใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค

                  .2  จัดทำบัญชีหมู่บ้านและชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาภัยแล้ง  ทั้งนี้อาจพิจารณาจากหมู่บ้านและชุมชนที่ประสบปัญหาภัยแล้งแล้วในปีที่ผ่านมา

                  .3    จัดสัปดาห์รณรงค์  สำรวจ  ซ่อม  และสร้างภาชนะเก็บน้ำประจำปี  ในระหว่างวันที่ 7 – 14  มกราคมของทุกปี  โดยการสำรวจและซ่อมแซมบ่อบาดาล  บ่อน้ำตื้น  ถังน้ำกลางหมู่บ้าน ประปาหมู่บ้าน  ตลอดจนภาชนะเก็บกักน้ำในครัวเรือน  ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน  พร้อมจัดทำข้อมูลภาชนะเก็บน้ำประจำปี  เพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาภัยแล้ง 

                  .4 กรณีที่พบว่าปริมาณแหล่งน้ำไม่เพียงพอกับการอุปโภคบริโภคในพื้นที่  ให้ประสานขอทราบข้อมูลแหล่งน้ำจากพื้นที่ข้างเคียง  ซึ่งสามารถลำเลียงโดยยานพาหนะหรือวิธีการอื่น  เพื่อขอรับการสนับสนุนในกรณีจำเป็น  พร้อมแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ให้เตรียมรับสถานการณ์ภัยแล้ง  มาตรการประหยัดการใช้น้ำ  และลดปริมาณการเพาะปลูกพืชที่ต้องใช้น้ำมากในฤดูแล้งตามประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์             

                  .5  สำรวจพร้อมจัดทำบัญชีกำลังคน  วัสดุ  อุปกรณ์  รถยนต์บรรทุกน้ำ  เครื่องสูบน้ำ  เครื่องมือเครื่องใช้ในการบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยแล้ง

                  .6  ดำเนินการโฆษณาประชาสัมพันธ์  ให้ประชาชนในพื้นที่สำรองน้ำเพื่อการบริโภค  และรู้จักใช้น้ำอย่างประหยัด      

การปฏิบัติเมื่อเกิดภัย

                  .1  จัดเจ้าหน้าที่ออกสำรวจสถานการณ์การเกิดภัยแล้ง  โดยประกอบด้วยข้อมูลจำนวนความเสียหายความเดือดร้อนของพื้นที่ที่ประสบภัย  จำนวนราษฎร  และทรัพย์สินที่เสียหาย  และรายงานสถานการณ์การเกิดภัยแล้งให้หน่วยเหนือทราบตามลำดับ  พร้อมรายงานเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเขตภัยพิบัติตามนัย ข้อ 16  แห่งระเบียบกระทรวงการคลัง  ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน  พ.ศ.  2546

                  .2  ดำเนินการให้ความช่วยเหลือด้านต่าง  ๆ ได้แก่ การแจกจ่ายน้ำ  การช่วยเหลือด้านการเกษตร  การสาธารณสุข  การโภชนาการ  และด้านอื่น ๆ  ตามระเบียบในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ  และรายงานความช่วยเหลือให้หน่วยเหนือทราบ

                  .3  กรณีที่เกินขีดความสามารถในการช่วยเหลือ  ให้รายงานเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนชั้นเหนือขึ้นไป  กรณีที่ต้องใช้เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยเกินกว่าจำนวนเงินที่อยู่ในอำนาจอนุมัติของผู้ว่าราชการจังหวัด  ให้รายงานกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนราชอาณาจักร  (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)  ทราบ  เพื่อขอรับความช่วยเหลือสนับสนุนงบประมาณ

                  .4  ให้ดำเนินการประชาสัมพันธ์  รวมทั้งการปฏิบัติการทางจิตวิทยา  โดยให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัด  การระมัดระวังรักษาสุขภาพและสุขอนามัย  เพื่อป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ  อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้ง  อย่างต่อเนื่อง

การฟื้นฟูบูรณะ

                  .1  กรณีที่มีผู้ได้รับอันตรายต่อสุขภาพให้มีการรักษาพยาบาลตามความเหมาะสมจนเป็นปกติ

                  .2 กรณีเกิดความเสียหายด้านการเกษตร  ปศุสัตว์  และการประกอบอาชีพอื่น ๆให้ช่วยเหลือฟื้นฟูอาชีพราษฎรตามระเบียบ  และหลักเกณฑ์ของทางราชการ

                  .3 บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยร่วมกันประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้น  ขั้นตอนการดำเนินการในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง  ความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ  ที่ไปถึงผู้ประสบภัย  เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางหรือมาตรการการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง  และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ  เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรม 
 
 
 

พื้นที่เสี่ยงภัยและบัญชีแจกจ่ายน้ำในพื้นที่ตำบลนาแสง 

                                     1  บ้านนาแสง

                                     2  บ้านดงเกษม

                                      3   บ้านนาคำแคน

                                      4   บ้านคำไชยวาล

                                      5   บ้านเกษมพัฒนา

                                      6  บ้านคำแคนพัฒนา

                                      7  บ้านแสงสาคร

                                      8  บ้านแสงเจริญ

                                      9  บ้านเกษมสามัคคี 
 
 
 
 
 
 
 

 

 


Set Home | Add to Favorites

All Rights Reserved Powered by Free Document Search and Download

Copyright © 2011
This site does not host pdf,doc,ppt,xls,rtf,txt files all document are the property of their respective owners. complaint#nuokui.com
TOP