Home > ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์
การวิจัยทางการบริหาร (สรุป)
การวิจัย
หมายถึง กระบวนการต่างๆที่ดำเนินไปอย่างมีระเบียบ และกฎเกณฑ์ (Systematic Study) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการ วิเคราะห์ และตีความข้อมูล เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบอันถูกต้องต่อปัญหาหรือคำถามที่ได้ตั้งไว้ (Research Questions)
คือ การแสวงหาคำตอบให้กับคำถามที่สงสัย (curiosity) เป็นการค้นคว้าโดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์
ประกอบด้วยกระบวนการถามคำถาม (process of inquiry) และการตอบคำถาม อย่างเป็นระบบ (systematic)
การหาข้อมูลเชิงประจักษ์ (empirical observations) การทำความเข้าใจข้อมูลเพื่อที่จะตอบคำถาม และการนำเสนองานวิจัย
ลักษณะเด่น Interdisciplinary / Integrated approach สหวิทยาการ / บูรณาการ Generalist ศึกษาในภาพกว้าง
ประโยชน์ Understanding : Research is not just polling
Ability to evaluate research project ประเมินงานวิจัย (distinguish ��good research�� from poorly designed)
To find practical policy solutions ผลวิจัยนำไปใช้สนับสนุนและเสนอเป็นทางเลือกในการตัดสินนโยบายรู้ พรรณนาได้ (How, What) เข้าใจ อธิบายได้ (Why) ทำนายได้ ควบคุมได้
กระบวนการ Interactive , not one-short ไม่ตายตัวม้วนเดียวจบ ไม่มีลำดับบังคับ ต่อยอดความรู้จาก review literature
Testable / Refutable (Karl Popper) เช่น ทฤษฎีอีกาทุกตัวมีสีดำ
Theory never been proved , only confirmed or refuted : 1000 confirmations might not withstand one refusal.
เชื่อตามประเพณี เชื่อตามคำบอกเล่า ตามประสบการณ์ส่วนตัว การหยั่งเห็น (insight)
ความรู้สึก (อัตตนิยม subjectivism) หลักเหตุผลเชิงตรรกะ วิธีทางวิทยาศาสตร์
การเขียนโครงร่างการวิจัย (Research Proposal)
จำแนกตามประโยชน์ของการวิจัย (The Use of Research)
Good Questions เป็น Descriptive เชิงพรรณนา อ่านแล้วทราบว่าทำเรื่องอะไร คำถามระบุเจาะจง เช่น สถานที่ เวลา
Bad Questions หาตัวเลขไม่ได้ งานวิจัยเกี่ยวกับปรัชญา ความคิดเห็น จะตอบอะไรไม่ได้มาก หรือคำถามกว้างและคลุมเครือ
Interesting / not too obvious ไม่ใช่คำถามที่พอจะคาดเดาคำตอบได้เลย เช่น ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศใด
Simple but overlooked questions คำถามธรรมดาที่อาจถูกมองข้ามไป เช่น การพึ่งตนเองทำให้เสี่ยงลดลงหรือไม่
Seek truth from reality / fact หาสัจจะจากความเป็นจริง ว่ากันตามจริง ไม่มีการแต่งนิทาน
Positive Questions first, Normative Questions then. (การตั้งคำถามการวิจัย เริ่มที่ Positive ตามด้วย Normative)
Positive ��What is ?�� , ��How / Why things work the ways they do ?�� , ��What works / doesn��t work ?��
Normative ��What should be ?�� , ��What is to be done ?�� , ��Where to begins ?�� คำถามเชิงความคิดเห็น เชิงนโยบาย
Common Sences are often wrong / conflicting / fall into FALLCY TRAP (กับดักความเสี่ยง หลุมพราง)
Fallacy of Composition Micro ไม่จำเป็นต้องเป็นจริงสำหรับ Macro เช่น ช่วยกันประหยัด จะช่วยเศรษฐกิจ
Post-hoc Fallacy (False Causality , Spurious (เก๊) Relationship , Extraneous Varible) ปัจจัยภายนอก มือที่ 3
เช่น คนที่มีมือถือเป็นคนรุ่นใหม่ คนรุ่นใหม่มีความตื่นตัวทางการเมือง มองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันนำมาโยงกัน
Tautology (ซ้ำกัน) ทัศนคติ พูดอีกก็ถูกอีก ถูกโดย Construction หรือ Definition
เช่น ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก หรือตัวแปรซ้ำกันในเงื่อนของเวลา เวลาทั้งหมดเป็นผลรวมเวลาแต่ละขั้น
Faith ความศรัทธา ทำให้ได้คำตอบที่ผิดเพี้ยน และไม่ลงไปดูข้อมูลให้ถึงที่สุด
Romanticism / Nostalgia ลุ่มหลงในอดีต เช่น การวิจัยคุณภาพชีวิตของคนเทียบกับ 15 ปีก่อน ควรใช้วิธีวัดแบบ objective
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ ประโยชน์ที่คาดหวังหากนำผลการวิจัยไปใช้
การทบทวนวรรณกรรม (Review Literature) (มักจะอยู่ในบทที่ 2 ของงานวิจัย)
คือ การค้นคว้าศึกษา และรวบรวมผลงานวิชาการ บทความ งานวิจัย ตำรา แนวความคิด ระเบียบวิธีวิจัย
ทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งหัวข้อใหญ่และประเด็นย่อย ข้อจำกัดและปัญหาที่เคยเกิดขึ้น ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ
เพื่อไม่ต้องทำวิจัยซ้ำซ้อน เป็นการต่อยอดความรู้ ทบทวนให้มีความรู้เพียงพอที่จะมาตั้งคำถาม หรือปรับปรุงคำถามที่ตั้งไป
(ถ้าคำถามนั้นเกิดซ้ำ หรือมีประเด็นที่ไม่สัมพันธ์กัน) การทบทวนวรรณกรรมเป็นเรื่องของคนอื่น ไม่ใส่ความคิดของตนลงไป
วัตถุประสงค์ เพื่อหาว่าที่ผ่านมา
Wallace��s Scientific Process วงจรการพัฒนา
การวิจัยเป็นวิทยาศาสตร์ (Scientific Research) ดำเนินตาม Scientific Process เริ่มด้วยการนำทฤษฎีมาใช้
Theories ทฤษฎี (นำแนวคิดมาเชื่อมโยงกัน) – Concept แนวคิด (เกิดจากการสังเกต ประสบการณ์ ความรู้)
Logical Induction Logical Deduction
(การอุปนัย ตีความหมาย) (การนิรนัย เฉพาะ)
Empirical Generalization Method Hypothesis
(รวบรวมสมมติฐาน วิเคราะห์ ทดสอบ) (สมมติฐานย่อย ตัวแปร)
Scaling and Measurement Operationalization and Instrumentation
(บันทึกข้อมูล) (สร้างเครื่องมือ)
Observation การเก็บรวบรวมข้อมูล
(เชิงประจักษ์ empirical data)
การสร้างกรอบแนวคิด (Conceptualization)
การวิจัย ใช้ทฤษฎีเป็นพื้นฐาน แนวคิดมีลักษณะเป็นนามธรรม (abstract) ต้องทำให้เป็นรูปธรรม (concrete) สามารถ
สื่อสารเข้าใจอย่างเดียวกันได้ จากนั้นจึงทำปรากฎการณ์ที่ได้ศึกษาที่มีลักษณะรูปธรรม ให้เป็นนามธรรม
เพื่อให้ได้ข้อสรุปทั่วไป (generalization) นำไปสู่การพิสูจน์ทฤษฎี หรือเพื่อสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้น
จากการทบทวนวรรณกรรมทำให้รู้เนื้อหาที่เป็นสาเหตุของปัญหาที่ต้องการศึกษา มีปัจจัยใดบ้างที่อธิบายปรากฎการณ์
การสร้างกรอบแนวคิด เป็นการจัดระเบียบแนวคิดต่างๆ เข้าด้วยกัน แล้วนำมาเขียนเป็นแผนภาพ กรอบแนวคิดในการวิจัย(Conceptual framework) ทำให้สามารถวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุด และควรเริ่มที่จุดใดก่อนได้
กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)
หมายถึง แนวความคิดของผู้วิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวแปร และปัจจัยต่างๆที่ศึกษา (คำตอบที่คาดไว้ ตั้งสมมติฐาน)
ประกอบด้วย ตัวแปร และการระบุความสัมพันธ์ของตัวแปร
การตั้งสมมติฐาน (hypothesis)โดยนำกรอบแนวคิด มาแจกแจงเป็นข้อๆ โดยแต่ละข้อจะระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
และในทางกลับกัน ถ้านำสมมติฐานต่างๆ เหล่านี้มารวมกันให้มีระบบ มีความเชื่อมโยงกัน ก็จะได้กรอบแนวคิดของการวิจัย
เช่น กรอบแนวคิด ลักษณะของหน่วยงาน ความกระตือรือล้นในการทำงาน
ลักษณะของผู้บังคับบัญชา
สมมติฐาน 1. ลักษณะของหน่วยงานตามแนวราบ ทำให้ผู้ปฏิบัติงาน มีความกระตือรือล้น มากกว่า แบบ top – down
2. ผู้บังคับบัญชาที่บริหารงานแบบประชาธิปไตย ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความกระตือรือล้นมากกว่า แบบเผด็จการ
วิเคราะห์และตีความตาม conceptual framework เพื่อไม่ให้หลงประเด็น และอยู่บนข้อมูลจริง ไม่ใช่ความคิดเห็น
แบบพรรณนาความ แบบจำลอง (สูตร) แบบแผนภาพ (diagram) แบบผสมผสาน (มีคำอธิบายประกอบ)
หลักการเขียนแผนภาพ จากตัวแปรอิสระสู่ตัวแปรตาม จากซ้ายไปขวา จากบนลงล่าง
Tractable / Witty (ข้อสังเกตหรือแทคติค)
เช่น stoping rule ของการมีบุตร
ทฤษฎี (Theory)
(Kerlinger) คือ กลุ่มของมโนทัศน์ (concept, แนวคิดรวบยอด) สัมพันธ์กันของนิยาม ข้อทฤษฏี ซึ่งนำเสนอการมอง
ปรากฎการณ์ อย่างเป็นระบบ โดยระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เพื่ออธิบายและพยากรณ์ปรากฎการณ์
(อ.พิชิต) คือ ชุดของข้อทฤษฎีที่กล่าวถึง ความสัมพันธ์อย่างเป็นเหตุและผล เป็นระบบ เป็นกระบวนการ ระหว่างแนวคิด
อย่างน้อย 2 แนวคิด ซึ่งนำเสนอการมองปรากฎการณ์ เพื่ออธิบายและพยากรณ์ปรากฎการณ์ (สิ่งที่ตำตา ตำใจ)
The meaning of Theory
ทฤษฎีเหมือนกับนามธรรม ที่ถูกใช้ในหลายวิถีทาง ในหลายสิ่งแวดล้อม ณ เวลาหนึ่ง กว้างเสียจนรวมทุกคำกล่าวที่เป็น
การพรรณนาเกี่ยวกับปรากฎการณ์ทุกอย่าง และอีก ณ เวลาหนึ่ง แคบเสียจนตัดออกเหลือแต่เทอมและความสัมพันธ์
ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการเชิงตรรกะได้
เป็นกระบวนการในการอธิบาย อย่างน้อย 3 จุด (ในแง่ของเวลา) และสรุปวาดออกมาเป็นภาพได้ (Diagram)
เช่น เพศ การไปลงคะแนนเสียง เพศมีความสัมพันธ์กับการไปลงคะแนนเสียง เป็นการพรรณนาไม่ใช่ทฤษฎี
เพศ การไปลงคะแนนเสียง
ทำไม ทำไมเพศมีผลต่อการไปลงคะแนนเสียง
มีความสัมพันธ์อย่างน้อย
3 จุด
ประเภทของทฤษฎี 1. ทฤษฎีปทัสถาน (Normative theory)
2. ทฤษฎีเชิงพรรณนา (Descriptive or Positive theory)
คือ กระบวนการตรรกะ ของการได้มาถึงข้อสรุป จากคำกล่าวที่รู้ หรือบางสิ่งบางอย่างที่รู้ว่าเป็นจริง
เริ่มต้นจากคำกล่าวทั่วไป ไปยังคำกล่าวที่เฉพาะเจาะจง พบน้อยในทฤษฎีด้านสังคม
เช่น ผู้จัดการทุกคนเป็นมนุษย์ (เป็นสิ่งที่เป็นจริง รู้ว่าเป็นจริง) แมรี่ เป็นผู้จัดการ เพราะฉะนั้น แมรี่ เป็นมนุษย์
นำทฤษฎีมาเปลี่ยนเป็นสมมติฐาน แล้วพิสูจน์อีกครั้ง deductive ทฤษฎีที่พิสูจน์แล้วพิสูจน์อีก ยิ่งมีความแม่นตรงมากขึ้น ถ้าไม่เป็นเช่นนั้นก็สร้างทฤษฎีใหม่ขึ้น
คือ ขบวนการตรรกะของการสร้างข้อทฤษฎีทั่วๆไป ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานการสังเกตของข้อเท็จจริงเฉพาะ
เช่น ผู้จัดการทุกคนเท่าที่เคยเห็น (คนเดียวก็ได้) เป็นมนุษย์ ถ้าเช่นนั้น ผู้จัดการทุกคนก็เป็นมนุษย์ สรุปจากตัวแทนที่พบ
โดยเป็นไปตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แม้ไม่ได้มาจากทั้งหมด
ทฤษฎี ควรประกอบด้วย อย่างน้อย 4 องค์ประกอบ
Practical Value of Theories คุณค่าในทางปฏิบัติของทฤษฎี
คือ คำที่ใช้อธิบายปรากฎการณ์ต่างๆ มีความเป็นนามธรรม ครอบคลุมเนื้อหาในชีวิตประจำวัน รู้กันโดยไม่ต้องอธิบาย
นักวิจัยต้องสามารถตอบปัญหาที่ต้องการตอบ ซึ่งส่วนใหญ่ปัญหามักจะอยู่ในรูปของ concept ถ้าเราใช้ concept ไปทำ
แบบสอบถามเลย โดยไม่เปลี่ยนจากนามธรรมเป็นรูปธรรม ข้อมูลที่ได้จะไม่สามารถใช้ได้ เช่น
หัวข้อหรือ concept คือ คนกรุงเทพใช้ชีวิตคุ้มค่าหรือไม่ ได้คำตอบมาว่าคุ้มค่าหรือไม่คุ้มค่า ตัวเลขที่ได้มาใช้ประโยชน์ไม่ได้
ถ้าไม่รู้ว่าความหมายของ ��ใช้ชีวิตคุ้มค่า�� คืออะไร ต้องเปลี่ยนเป็นรูปธรรมก่อน Theoretical concept = Construct ปัญหาการนำ concept ไปเป็นคำถาม
คำถามมีความหมายกว้างเกินไป
สามารถตีความได้มากมาย คนจะตอบว่าไม่ทราบ
ไม่รู้ ไม่แน่ใจ ถ้ามีการปฏิเสธเกินกว่าร้อยละ
20 คำถามนั้นใช้ไม่ได้
Theoretical Propositions (ข้อทฤษฎี)
are statements concerned with the relationships among concepts คำกล่าวที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิด
ความสัมพันธ์แบบ Deterministic relation X เปลี่ยน Y ต้อง เปลี่ยนแปลงด้วย
ความสัมพันธ์แบบ Probablistic relation X เปลี่ยน Y น่าจะ เปลี่ยนแปลงด้วย
ข้อทฤษฎี มีลักษณะที่แยกจากกัน ไม่ซ้ำซ้อน แต่มีความสอดคล้องภายใน ไปในทิศทางเดียวกัน
เมื่อนำมารวมกัน สามารถครอบคลุมสาระสำคัญทั้งหมดของปรากฎการณ์ที่มุ่งอธิบาย
ต้องผ่านเงื่อนไขข้อตกลงก่อน เช่น การสุ่มตัวอย่าง(Sampling) , ระดับการวัด(Measurement) , การกระจาย(Distribution)
ถ้าไม่เข้าข่ายข้อตกลงก็ใช้ไม่ได้
คือ ข้อความที่ผู้วิจัยต้องการทดสอบว่าเป็นจริงหรือไม่ เป็นสิ่งที่คาดคะเนไว้ก่อนว่าจะเกิดขึ้น
โดยทั่วไปมักระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
(Variable) หรือแนวคิด (Concept) เปลี่ยนทฤษฎีให้เป็นสมมติฐาน
หลักการเขียนสมมติฐาน (ลักษณะสมมติฐานที่ดี)
ตัวแปรอิสระระดับกลุ่ม nominal ไม่มีทิศทาง เช่น เพศกับการไปเลือกตั้ง บอกไม่ได้ว่าเพศ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ
การไปเลือกตั้ง ให้บอกไปเลยว่า ชายน่าจะไปเลือกตั้งมากกว่าหญิง
ตัวแปรระดับอันดับ ช่วง อัตราส่วน สามารถบอกทิศทางได้
ตัวแปรตามคือหัวใจสำคัญ เป็นประเด็นของการวิจัย อาจคาดไม่ถึง (Unexpected) ทั้ง favorable และ unfavorable
ดำเนินการวิจัยให้เป็นขบวนการวิทยาศาสตร์ นำทฤษฎีมาใช้ แล้วเปลี่ยนทฤษฎีเป็นสมมติฐาน
Karl
Popper ��สมมติฐานคล้ายกับอวนจับปลา
คนที่มีอวนจึงจะจับปลาได้��
ประเภทของสมมติฐานการวิจัย (Research Hypothesis)
สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis)
นักสถิติเป็นผู้กำหนดมาแล้ว H0 : Null hypothesis (สมมติฐานปฏิเสธ) r = 0 (ไม่มีความสัมพันธ์)
H1 , Ha : Alternative Hypothesis (สมมติฐานแย้ง) r 0
การวิเคราะห์ทางสถิติ ขั้นแรก มี assumption ขั้นที่2 ตั้งสมมติฐานทางสถิติ และขั้นต่อมา คำนวณ แล้วสรุป (conclusion)
สมมติฐานคู่แข่ง (Rival Hypothesis)
เชื่อว่ายังมีคำอธิบายอื่นๆสำหรับปรากฎการณ์เช่นนั้น ให้นักวิจัยเป็นผู้มีความพินิจพิเคราะห์ (Critical mind)
ในเนื้อหา (content) และระเบียบวิธีวิจัย (method) ในการอ่านรายงานวิจัย
(5.) จากทฤษฎี เป็นแหล่งที่ดีที่สุด แต่ไม่ง่าย
- ต้องตั้งสมมติฐานในทุกกรณีหรือไม่ ?
การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็นการพรรณนาตัวอย่าง ปรากฎการณ์ มีตัวแปรเดียว ไม่มีทิศทาง ไม่ใช่สมมติฐาน
การวิจัยบุกเบิก Pilot study ก็ไม่ต้องตั้งสมมติฐาน
- ผลการวิเคราะห์ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน จะทำอย่างไร ?
F C Dane เสนอแนะให้ตรวจสอบ ทุกขั้นตอนของการวิเคราะห์ ตรวจสอบสาเหตุที่ผลการวิจัยออกมาเช่นนั้น
การทบทวนวรรณกรรม
ความแตกต่างของวิธีการวิจัยกับงานวิจัยอื่น
รวมทั้ง Rival hypothesis
การออกแบบการวิจัย (Research Design) การออกแบบวิจัยที่ดี ต้อง
1. สามารถตอบปัญหาการวิจัยได้ บางปัญหาแค่สอบถามครั้งเดียว บางปัญหาต้องมีกลุ่มควบคุมเปรียบเทียบ
2. มีความสามารถควบคุมความแปรปรวนได้ (ตัวแปรภายนอก - Control of Extraneous Variables ที่มีผลต่อตัวแปรตาม)
โดยการแบ่งกลุ่มโดยสุ่ม (Randomization) การทำให้ตัวแปรภายนอกเป็นค่าคงที่ (Constant) ให้เป็นตัวแปรอิสระเพื่อศึกษา
3. แบบวิจัยต้องมีความตรงภายใน (Internal Validity) มีความถูกต้องในชิ้นงานนั้นๆ ตั้งแต่วิธีการ เครื่องมือ สถิติ
4. แบบวิจัยต้องมีความตรงภายนอก
(External Validity) ขยายไปในกลุ่มใกล้เคียงกันต้องได้ผลเหมือนกัน
Generalization
ประเภทของแบบวิจัย (3 แบบใหญ่)
R = Randomization การแบ่งกลุ่มโดยสุ่ม X = Experiment กิจกรรมกระตุ้น manipulation, treatment
(x) = Not manipulate เป็นการศึกษาย้อนหลัง O = Observation การสังเกต วัดผล(Measurement) ตัวแปรตาม
A. แบบวิจัยก่อนแบบทดลอง (Pre-experimental Design)
ไม่ใช่ True-experimental Design เพราะไม่มี Control Group
X O เช่น โครงการรณรงค์หยอดวัคซีน และวัดจำนวนผู้มารับวัคซีน (ไม่ได้วัดผลการป้องกัน)
การออกแบบวิจัยแบบศึกษาย้อนหลัง (Ex-post Facto Research)
(x) O เช่น ผู้กระทำผิดกฎหมาย O ศึกษาย้อนหลัง เกี่ยวข้องกับความยากจน (x)
ระวังการสรุปย้อนหลังอาจเหมารวมจุดเล็กเป็นภาพกว้าง เช่น ทำงานห้องแอร์ O เป็นพวกรักสบาย (x)
มีปัญหาปัจจัย เหตุการณ์สำคัญ (History) วุฒิภาวะ (Maturation) การเลือกตัวอย่าง (Selection)
การสูญเสียตัวอย่าง (Mortality) ซึ่งผลของการวัดอาจไม่ใช่ผลของ X
มีการวัดเพื่อเปรียบเทียบก่อน และหลัง
O1 X O2 มีการจัดกระทำตัวแปร เช่น วัดทัศนคติครั้งที่1 จัดทำโครงการ แล้ววัดทัศนคติครั้งที่2
O1 (x) O2 แบบศึกษาย้อนหลัง เมื่อ O2 ต่างกับ O1 จึงศึกษาย้อนหลังว่า เกิดอะไรขึ้นระหว่างนั้น (x)
เช่น ยอดขายสินค้าปี 45 O2 ตกลงจากปี 44 O1 ย้อนไปดูว่าเกิดจากอะไร (x) เช่น บรรจุภัณฑ์
เช่น ถามย้อนหลังเกี่ยวกับอาชญากรรม O1 กับทัศนคติต่อตำรวจ O2 ? G2 O2
เช่น กลุ่มที่1 ปลูกพืชวิธีใหม่ กลุ่มที่2 ปลูกวิธีปกติ G2 O2
B. แบบวิจัยทดลองแท้ (True-experimental Design)
Classic Experiment มีการแบ่งกลุ่มโดยสุ่ม เพื่อขจัดปัญหา History, Maturation
G2 O2 O4 รวบรวมข้อมูล O1 และ O2 ไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ถ้าเป็นไปตามทฤษฎี O3 น่าจะมากกว่า O4 แม้ว่า O4 จะมากกว่า O2
อาจมีปัจจัยอื่น เช่น อาหาร อากาศ อายุ พันธ์ เล้า ต้องควบคุมให้คงที่ จะได้ไม่เป็นตัวแปร
G3 X O5 ทดลอง2 2 กลุ่มหลังไม่มี Pre-test เพื่อลดผลของการจำได้
G4 O6 ควบคุม2
G2 O2
C. แบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Design) ไม่มี Randomization
(ไม่มีการแบ่งกลุ่มโดยสุ่มวัดก่อนหลัง มีกลุ่มควบคุม)
G1 O1 X O3 เช่น ผู้ว่า CEO กำหนดไว้แล้วไม่มีการสุ่ม แต่มีคู่จังหวัดเป็นกลุ่มเปรียบเทียบ
G2 O2 O4 วิธีวิจัยอาจวัดความคิดเห็นในประเด็นต่างๆเก็บข้อมูลก่อนทำ (baseline data)
มีการเก็บข้อมูลหลายครั้งเพื่อดูแนวโน้ม
O1 O2 O3 O4 O5 X O6 O7 O8 O9 O10
Pre-X O1-5 ถ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว (up trend) เก็บข้อมูลแค่ O5-7 ก็จะสรุปว่า X ทำให้เพิ่มขึ้น
แต่
Post-X O6-10 ทำให้ทราบว่ามีการเปลี่ยนแปลง
(break trend)
G1 O1 O2 O3 X O4 O5 O6
G2 O7 O8 O9 X O10 O11 O12
มีกลุ่มควบคุมเพื่อเปรียบเทียบผลของ X ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนของกลุ่มทดลอง
เริ่มจากสิ่งที่มีลักษณะเป็นนามธรรม (abstract) ทำให้เป็นรูปธรรม (concrete , ตัวแปร) สื่อสารเข้าใจอย่างเดียวกันได้
แล้วนำมาวิเคราะห์สิ่งที่ได้จากการศึกษาวิจัย ทำให้กลับเป็นนามธรรม
Concepts (นามธรรม , abstract) Variables (รูปธรรม , concrete) Concepts (นามธรรม , abstract)
การสร้างกรอบแนวคิด การให้นิยามปฏิบัติ และการออกแบบสอบถาม
การสร้างกรอบแนวคิด (การกำหนดข้อความคิดเชิงมโนทัศน์ Conceptualization)
คือ กระบวนการที่ผู้วิจัยรวบรวมข้อความคิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำศัพท์ (Term) ที่กำลังจะกำหนดนั้น มาพิจารณา พินิจวิเคราะห์ เพื่อผู้วิจัยจะได้กำหนดอย่างชัดเจน และถูกต้องว่าคำศัพท์ที่ใช้ในการวิจัยมีความหมายอย่างไร
มาจากการทบทวนวรรณกรรม (หนังสือ ครู ข้อมูลราชการ IT การลงไปสัมผัส ประสบการณ์)
การให้นิยามปฏิบัติ (Operationalization)
เป็นกระบวนการต่อเนื่องมาจากการสร้างกรอบแนวคิด เปลี่ยนแนวคิดที่เป็นนามธรรมสูง เป็นรูปธรรม สามารถนำไปวัด หรือเขียนเป็นคำถาม ซึ่งเมื่อถามแล้วผู้ตอบเข้าใจและตอบได้ เป็นความหมายเดียวกัน ที่กำหนดขึ้นโดยผู้วิจัยเอง
นามธรรม Theory (ทฤษฎี) Proposition (ข้อทฤษฎี) Concept
Operationalizationรูปธรรม , ระดับปฏิบัติการ Practical
Empirical research Hypothesis (สมมติฐาน) Variable (ตัวแปร)
ตัวอย่าง แนวคิด = Reproductive status
นิยามปฏิบัติ = Age , Marital status , Parity
คำถาม = เกี่ยวกับอายุ
สถานภาพสมรส จำนวนบุตร
(Level of abstaction) Propositions
Concepts
Empirical level Observations of Objects & Events (Reality)การวิจัยขึ้นกับการวัด เพื่อหาตัวชี้วัด Indicator
ตัวแปร Concepts เป็นความคิดรวบยอด เข้าใจ รับรู้เช่นนั้น พัฒนามาเป็น เชิงทฤษฎี เชิงวิชาการ Theoretical concept = Construct คือ concept ที่สร้างโดยอาศัยหลักทฤษฎีการกำหนดข้อความคิด (Conceptualization) นำไปสู่การวัด
นิยามศัพท์ / นิยามแนวคิด (Conceptual Definition)
นิยามปฏิบัติการ (Operational Definition)
การวัดตัวแปรในโลกแห่งความจริง (Measurements)
ดัชนี / เครื่องชี้วัดเชิงประจักษ์ (Empirical Indicators) เปลี่ยนจากนามธรรม concepts เป็นรูปธรรม indicators
หมายถึง การกำหนดความหมายของศัพท์ที่มีความหมายเป็นที่เข้าใจยากคลุมเครือ สับสน ให้ชัดเจนแน่นอน เป็นที่เข้าใจได้ง่ายตรงกัน นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ระดับ คือ
นำไปปฏิบัติได้
เช่น แต่ละตัวชี้วัดของ จปฐ.
วัดออกมาได้อย่างไร , กำหนดออกมาเป็นมาตรวัด
เช่น ความก้าวร้าวไม่สามารถเห็นได้ แต่แปรจากพฤติกรรมที่สังเกตเห็น ไม่พอใจก็จะมีเสียงดัง ทุบโต๊ะ
เช่น สร้าง construct ว่าเด็ก Autistic ก้าวร้าวเพราะแรงกระตุ้นภายใน ถ้าลดแรงกระตุ้นนี้ได้ จะทำนายว่าก้าวร้าวลดลง
Conceptual Model
คือ ความสัมพันธ์ ระหว่าง Observations กับ Constructs
Refining constructs from observations (สร้าง construct จากสิ่งที่สังเกตเห็น) และ
Predicting observations from constructs (ทำนายสิ่งที่จะสังเกตได้ จะเกิดขึ้น จากโครงสร้าง construct ที่สร้างขึ้น)
Models (แบบจำลอง)
Models จะสนใจตัวแปรบางตัว โดยคิดว่าตัวแปรอื่นคงที่ หรือยังไม่สำคัญในข้อสมมตินั้นๆ แต่ความจริงอาจไม่ใช่
ทำให้แบบจำลองไม่อาจอธิบายความเป็นจริงนั้น
แบบจำลองพัฒนามาน้อยกว่าทฤษฎี และใช้ในการพัฒนาทฤษฎี ดังนั้นจะอธิบายความเป็นจริงได้น้อยกว่า
ตัวแปรและเครื่องชี้วัดเชิงประจักษ์ (Variable and Empirical Indicators)
ตัวแปร (Variables)
หมายถึง คุณลักษณะที่แปรเปลี่ยนไปในสิ่งที่เราศึกษา ค่าคงที่ หรือตัวคงที่ (Constants) ไม่ใช่ตัวแปร
Jame A. Davis ให้คุณสมบัติไว้ว่า
ถ้ามีชายอย่างเดียวจะเป็นตัวคงที่
หน่วยของการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) คือ ระดับของ สิ่งที่เราศึกษา ได้แก่
ตัวแปรคุณภาพ (Qualitative Variables)
ตัวแปรปริมาณ (Quantitative Variables) วัดเป็นค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบน (SD) ได้
เช่น ความรู้เป็นตัวแปรช่วง สอบได้ศูนย์ ไม่ใช่ไม่มีความรู้ , จำนวนบุตร ศูนย์คน คือไม่มีบุตรเลย
ทางวิทยาศาสตร์ ตัวแปรปริมาณมีค่าติดลบได้
ทางสังคมศาสตร์
เช่น วัดความพึงพอใจ เป็นตัวแปรนามธรรม
quantified เป็นตัวเลขเพื่อคำนวณ
ถือเป็นจำนวนนับ ไม่มีติดลบ
ตัวแปร (Variables) มีทั้งนามธรรม และรูปธรรม
นามธรรม ใช้เครื่องมือ (Instrument) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นสิ่งที่จับต้องได้ เชื่อมนามธรรม กับรูปธรรม ได้แก่รูปธรรม ผลที่ได้จากการใช้เครื่องมือ เป็นเครื่องชี้วัด(ดัชนี)เชิงประจักษ์ (Empirical Indicator)
เช่น คุณภาพชีวิต (นามธรรม) ใช้ Minimal Basic Needs (จปฐ.) เป็นตัววัด
สติปัญญา (นามธรรม)
แบบวัด IQ (เครื่องมือการวิจัย)
คะแนน IQ (เครื่องชี้วัดเชิงประจักษ์-รูปธรรม
, Indicator)
การวิจัย Sampling survey ใช้ Dependent & Independent variable
การวิจัยทดลอง ใช้ Cause & Effect
การกำหนดตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม
ระดับการวัดของตัวแปร (Measurement level)
- มีรายการเพื่อการจำแนก (classification) เช่น ชาย-หญิง
- คำตอบเป็นตัวอักษร
ถ้ารายการห่างไม่เท่ากัน เช่น 0-9 10-19 �� 60+ จะเป็นตัวแปรระดับอันดับ
ระดับการวัดตัวแปร มีความสำคัญ เป็นตัวกำหนด การเลือกใช้สถิติ อย่างถูกต้องเหมาะสม
สถิติที่ใช้กับตัวแปรระดับสูงกว่า
อำนาจการสรุปจะดีกว่า และไม่นิยมทำข้อมูลละเอียดให้เป็นข้อมูลหยาบ
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (relate, correlate, associate, influence)
คือ ความแตกต่างในตัวแปรหนึ่ง(อิสระ) ทำให้เกิดความแตกต่างในอีกตัวแปร(ตาม)
เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ว่ามีผลหรือมีอิทธิพลต่ออีกตัวแปร
ก ข
(spurious relationship ความสัมพันธ์ลวง ระหว่าง 2 ตัวแปร เป็นผลจากความสัมพันธ์ของทั้งคู่กับตัวแปรที่ 3)
ก ข
ก ข นิยมใช้ในทางสถิติ
เป็นความสัมพันธ์เชิงเหตุผล อธิบายว่าตัวแปรอิสระ สัมพันธ์กับตัวแปรตามอย่างไร
ในความเป็นจริงไม่มีเหตุผล หรือตรรกะ คำอธิบายที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสองนี้
เช่น คนสวยไปเลือกตั้งมากกว่าคนขี้เหร่ อาจมีความสัมพันธ์กัน แต่หาคำอธิบายไม่ได้
ต้องให้ความสำคัญในเชิงเนื้อหาหรือทฤษฎีก่อน แล้วจึงหาความสัมพันธ์ทางสถิติ
การวัด (measurement)
หมายถึง การกำหนดตัวเลขให้แก่คุณลักษณะของสิ่งที่เราต้องการวัด ตามกฎ (Rules) ที่กำหนดขึ้นตามการกำหนดแนวคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptualization)
มาตรวัด (Scale)
คือ ชุดคำถามที่มีหลายข้อคำถาม (Items) มีรูปแบบการตอบเหมือนกัน (same response format) ใช้วัดตัวแปรที่เป็นมโนทัศน์ที่เป็นนามธรรมสูง (Abstract concept)
การวิจัยขึ้นกับการวัด เพื่อหาตัวชี้วัด Indicator
ดัชนี / เครื่องชี้วัดเชิงประจักษ์ (Empirical Indicators) เปลี่ยนจากนามธรรม concepts เป็นรูปธรรม indicators
ทัศนคติ (Attitude)
ความโน้มเอียงหรือความพร้อม (readiness) ที่จะตอบสนองในทางที่ชอบหรือไม่ชอบ (favorable or unfavorable)
ต่อสิ่งเร้าที่กำหนดให้ (objects) ทัศนคติ มีองค์ประกอบ 3 ด้าน
- มีคำถามที่เป็น Positive และ Negative question
- การให้คะแนน เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
Positive 4 3 2 1
Negative 1 2 3 4
เช่น สะอาด - สกปรก กระตือรือร้น - เฉื่อยชา
หรือ ความใช้ได้ (อ.พิชิต) วัดในสิ่งที่ต้องการวัด เช่น วัดน้ำหนักต้องใช้เครื่องชั่งน้ำหนัก
1.1 ตรงตามเนื้อหาในนิยามศัพท์ ถือเป็น minimum ของความตรง (Content validity) เขียนนิยามศัพท์ให้ชัดเจน
1.2 ตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) นิยามศัพท์ตรงกับทฤษฎี Theoretical concept = Construct
2. ความเที่ยง (Reliability) วัดซ้ำๆได้ผลเหมือนเดิม เช่น แบบวัด IQ (เที่ยงแต่อาจไม่ตรงเช่นกิโลแม่ค้า)
หรือ ความเชื่อถือได้ (อ.พิชิต) ความสามารถของการวัดที่จะให้ผลเหมือนกัน
ทางวิทยาศาสตร์ ไม่ค่อยมีปัญหา Validity เช่น วัดอุณหภูมิใช้เทอร์โมมิเตอร์ แต่จะ concern เรื่องคุณภาพเครื่องมือ Reliability
ทางสังคม จะมีปัญหา Validity ใช้แทนปัญหาจริงได้หรือไม่ นิยามปฏิบัติตรงกับปัญหาไหม ส่วน Reliability ทำซ้ำได้ผล
เหมือนเดิม ปัญหาคือไม่ค่อยมีโอกาสไปถามคนเดิมครั้งที่ 2 แม้ได้ถาม ก็มีปัญหาเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน อารมณ์เปลี่ยน อาจได้คำตอบที่เปลี่ยนไปด้วย
3. ความเป็นปรนัย (Objectivity) ไม่ขึ้นกับความรู้สึก (subjective อัตตนัย ตน)
4. ความสะดวกในการใช้ (Practicality) ใช้ง่ายเก็บข้อมูลง่าย
คำถามปลายปิด ที่กำหนดตัวเลือกตอบไว้แล้ว (fixed alternative) มีข้อดีที่ความเป็นปรนัย และความสะดวก
แต่คำถามที่คาดเดาคำตอบไม่ได้ เป็นสิ่งใหม่ ต้องใช้ คำถามปลายเปิด
จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม จากข้อเท็จจริงไปสู่แนวความคิด
การเตรียมรหัสข้อมูลสำหรับแบบสอบถาม : สร้างรหัสและกำหนดชื่อตัวแปรในแบบสอบถาม หรือการจัดทำคู่มือการลงรหัส
การบันทึกข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผล : ใส่ข้อมูลลง Coding Form หรือบันทึกเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง
การลงรหัสขึ้นอยู่กับลักษณะรูปแบบของคำถาม : คำถามปลายปิดกำหนดรหัสล่วงหน้า ส่วนปลายเปิดให้รหัสหลังได้ข้อมูล
ข้อดี : เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น เป็นแหล่งที่มาของสมมติฐาน มีคุณค่าในการหาคำตอบเชิงพรรณนา(ทัศนคติ)
เหมาะสำหรับคำถามที่ยังไม่ทราบ ไม่คุ้นเคย ช่วยทำให้ทราบขอบเขตของคำตอบ
ข้อเสีย : ปัญหาในการให้รหัสและวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ถามและผู้ตอบต้องใช้ความพยายาม อดทน
มีแนวโน้มที่ผู้สัมภาษณ์จะย่อคำตอบเอาเอง
นักวิจัยต้องมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะของคำตอบที่เป็นไปได้ และการซอยช่วงคำตอบต้องละเอียดพอ
การตั้งคำถามต้องคำนึงถึง - Mutually Exclusive แต่ละคำตอบความหมายแยกจากกันโดยเด็ดขาด
- Mutually Exhaustive ครอบคลุมคำตอบที่น่าจะเป็นทั้งหมด
ข้อดี : ง่ายต่อการตอบ การให้รหัส ผู้สัมภาษณ์ไม่จำเป็นต้องมีทักษะมาก การสัมภาษณ์สั้น ข้อมูลเปรียบเทียบได้
ข้อเสีย : ผู้ตอบอาจไม่มีความรู้ แต่ก็เลือกตอบได้
อาจจัดลำดับโดยสุ่ม หรืออย่างมีระบบ โดยทั่วไปวิธีที่เหมาะสมในการสร้างแรงจูงใจ และความร่วมมือจากผู้ตอบ คือ
อยู่ในระดับเดียวกันด้วย อย่าทำข้อมูลที่ละเอียดให้หยาบลง เช่น ตัวแปรอายุ ให้ระบุเลย (ratio) ไม่ใช่ 20-29 (ordinal)
ความพอใจในงาน (ordinal) ทำให้เป็นคะแนนความพึงพอใจ (interval or ratio)
แล้วต้องถาม Subjective or Direct question ด้วย เช่น เจ้านายเป็นไง เงินเดือนเป็นไง แล้วถามตรงเรื่องพึงพอใจในงาน
แบบสอบถาม (Questionnaire) ผู้ตอบคำถาม กรอกคำตอบในแบบด้วยตัวเอง
แบบสัมภาษณ์ (Interview Schedule) ผู้วิจัยทำหน้าที่สัมภาษณ์ และบันทึกคำตอบ
การใช้แบบสอบถาม / แบบสัมภาษณ์ หรือการเลือกใช้คำถามเปิด / คำถามปิด ขึ้นกับปัจจัย
ธรรมชาติของเรื่องที่จะศึกษาวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย
ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง แรงจูงใจของกลุ่มตัวอย่าง
เรื่องที่ไวต่อความรู้สึก ควรใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาต่ำ ควรใช้แบบสอบถาม
เรื่องทั่วๆไป เกี่ยวกับข้อเท็จจริง ความเห็น ความรู้ ทัศนคติ ควรใช้แบบสัมภาษณ์
การทดสอบแบบสอบถาม (Pretest)
เลือกลักษณะที่คล้ายกับกลุ่มตัวอย่าง ป้องกันการ contaminate ผู้ถูกสัมภาษณ์จะรู้เรื่องก่อนทำให้ข้อมูลเบี่ยงเบน
ทดสอบใช้กับ 30-50 คน โดยต้องไม่ไปถามผู้ที่รู้เข้าใจคำถามอยู่แล้ว ถามชาวบ้านที่ไม่รู้
จำแนกตามแหล่งที่มา 1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) คือ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บโดยตรงจากพื้นที่ หรือตัวบุคคล
2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) คือ ข้อมูลที่มีผู้เก็บมาแล้ว เช่น สถิติหรือข้อมูลของหน่วยงาน
เอกสาร สิ่งตีพิมพ์ หรือข้อมูลจากสื่อ(วิทยุ โทรทัศน์) เอกสารส่วนตัว (บันทึก จดหมายเหตุ)
จำแนกตามคุณสมบัติการวัด 1. ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data)
2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data)
ข้อดี 1. สามารถเก็บให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และการวิเคราะห์ของการวิจัยได้
2. สามารถควบคุมเรื่องคุณภาพของการเก็บข้อมูลได้ ตามความรู้ความสามารถของนักวิจัย
ข้อเสีย 1. เสียเวลา และค่าใช้จ่ายมาก
2. อาจเก็บข้อมูลได้ไม่ครบถ้วน
3. คุณภาพของข้อมูลอาจไม่ดีพอ
ข้อดี 1. ประหยัดเงิน เวลา และกำลังคน เพราะไม่ต้องทำการเก็บใหม่
2. สามารถทำการศึกษาย้อนหลังไปได้ไกลเท่าที่เอกสาร หรือข้อมูลนั้นจะย้อนหลังไปได้
ข้อเสีย 1. ข้อมูลมักไม่ครบถ้วนตามประเด็นที่ศึกษา ที่ผู้วิจัยต้องการ
2. มักมีปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล
3. ข้อมูลที่มีอยู่อาจไม่ทันสมัย
4. มีการเปลี่ยนแปลงคำนิยามต่างๆ โดยไม่ได้ระบุไว้ให้ทราบ
โดยการสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม
ข้อดี 1. สามารถบันทึกเหตุการณ์ได้ตามที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งมีความถูกต้องมากกว่าวิธีอื่น
2. การบันทึกเหตุการณ์ทำได้โดยเอกเทศ ไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ให้ข้อมูล
การใช้แบบสอบถาม (Questionnaire)
วัตถุประสงค์ เพื่อเก็บข้อมูลที่ไม่สามารถสังเกตได้
ข้อเสียของ Mailed Questionnaires
การสุ่มตัวอย่าง (Sampling)
ประชากร (Population) ความเป็นตัวแทน (Representativeness) ตัวอย่างสุ่ม (Random Sample)
Parameter (ค่าพารามิเตอร์) คำนวณจากประชากร (Population) 2 r
Statistic (ค่าสถิติ) คำนวณจากกลุ่มตัวอย่าง (Sample) X SD SD2 r^
การทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis testing) เป็นสถิติอ้างอิง (Inferential Statistic) คือ การประมาณค่า Parameter
1. การสุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้เป็นไปตามความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling)
แบบบังเอิญ หรือแบบตามสะดวก (Accidental or Convenience Sampling)
แบบโควต้า (Quota Sampling) แบบเจาะจง (Purposive Sampling)
2. การสุ่มตัวอย่างที่เป็นไปตามความน่าจะเป็น (Probability Sampling)
การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Sampling)
การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มตามพื้นที่กลุ่ม (Cluster Sampling)
การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มตามพื้นที่หลายขั้นตอน (Multistage Cluster Sampling)
คือ การนำข้อมูลดิบ (ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา Raw data) มาประมวลผล (Process) โดยทำให้อยู่ในฐานเดียวกัน เช่น
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (ไม่ใช้ข้อมูลดิบ เพราะฐานไม่เท่ากัน)
สถิติ ทำหน้าที่ รวบรวมข้อมูลมากมายให้อยู่ในระดับที่จัดการได้ เข้าใจได้ และสรุปข้อมูลทั้งหมดให้เข้าใจง่ายขึ้น
หากจัดการเป็นหมวดหมู่แล้วสรุปให้เหลือค่าเดียวได้ เช่น GNP GDP ถือว่าสุดยอด
หมายถึง การหาความสัมพันธ์ การหาเหตุผล เอาความแตกต่างในตัวแปรอิสระ ไปอธิบายความแตกต่างในตัวแปรตาม
Jame A. Davis : �� Make sure your variables Vary �� ตัวแปรที่นำมาวิเคราะห์ (อิสระ ตาม) ต้องมีความแตกต่างในตัวเอง
แต่ละรายการของตัวแปร มีสัดส่วนไม่แตกต่างกันมากเกินไป เช่น ชาย:หญิง 50:50 ดีที่สุด 70:30 พอใช้ได้ 80:20 ยังพออนุโลม
95:5 100:0 ตัวแปรเริ่มเป็นตัวคงที่(constant) จะนำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลไม่ได้ ส่วนนี้เป็นการสกรีนตัวแปรก่อนนำไปวิเคราะห์
การวิเคราะห์
เป็นกิจกรรมหนึ่ง วัตถุประสงค์ว่าต้องการทราบอะไรจากการวิจัย
การตั้งวัตถุประสงค์เริ่มจากง่ายไปยังซับซ้อน
หลักเกณฑ์การใช้สถิติเพื่อการวิเคราะห์ จากวัตถุประสงค์การวิจัย
ต้องการพรรณนา (ขั้นพรรณนา descriptive) ใช้ Univariate statistic บอกจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย SD , mode , median
ตัวแปรเดียวไม่เรียกวิเคราะห์ เป็นแค่พรรณนา โดยสถิติที่ใช้ได้ คือ ร้อยละ (%) ไม่ว่าตัวแปรเดียวนี้จะอยู่ในระดับใด
มีผล มีอิทธิพล มีความสัมพันธ์ เช่น เพศ อายุ การศึกษา มีความสัมพันธ์ มีผล มีอิทธิพลต่อความเห็นหรือไม่
ใช้ Bivariate statistic เอาความแตกต่างของตัวแปรอิสระ (%) ไปอธิบายความแตกต่างของตัวแปรตาม (%)
ถ้ามีความแตกต่างน้อยมาก มีปัญหาว่าเท่าใดจึงเรียกว่าแตกต่าง ต้องใช้สถิติอื่นมาช่วยตัดสิน 2 – test (Chi-Square)
หลักเกณฑ์การใช้สถิติเพื่อการวิเคราะห์ (ต่อ)
เช่น เพศ อายุ การศึกษา ตัวแปรใด มีผล มีอิทธิพลต่อความเห็น มากที่สุดและรองลงมา สถิติจะบอกว่าตัวใดบ้างที่มีผล
โดยการวิเคราะห์ปัญหาต้องมีการเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาอะไรมาก่อนหลัง (priority)
ใช้สถิติ Inferential
statistic ขยายจากกลุ่มตัวอย่างให้เป็นประชากร
แล้วสร้างทฤษฎีขึ้นมา (inductive
theory)
ระดับการวัด สถิติที่ใช้ (ตัวแปรเดียว) ควรใช้ สถิติ (2 ตัวแปร)
N % Mode % % 2 - test
O % Median % % 2 - test
I & R % X SD Min Max % r (correlation) regression t-test
(ไม่ค่อยนิยมใช้)
ตัวอย่าง การไปลงคะแนนเสียง ชาย หญิง รวม
ไป 90.0 (180) 70.0 (140) 80 (320)
ไม่ไป 10.0 (20) 30.0 (60) 20 (80)
รวม 50.0 (200) 50.0 (200) 100 (400)
SPSS จะวางตัวแปรอิสระทางด้านแนวนอน(เพศ) และตัวแปรตามทางด้านแนวตั้ง(การไปลงคะแนนเสียง)
สัดส่วนของ ตัวแปรอิสระ 50:50 ตัวแปรตาม 80:20 ดังนั้นข้อมูลนี้ใช้ได้
หลักการใช้ 2 – test
Cell with E.F. < 5 มากกว่าร้อยละ 25 ไม่ควรใช้ 2 – test แสดงว่าการออกแบบวิเคราะห์ไม่เหมาะสม ต้องจัดรายการของตัวแปรในตารางใหม่ หรือต้องโยนข้อมูลทิ้ง
คือ ความแตกต่างที่ได้จาก 2
– test เมื่อ run หลายๆครั้ง ไม่ควรเกินร้อยละ
5
ตัวอย่าง Chi-Square D.F. Significance Min E.F. Cells with E.F.< 5
2.37 2 - 0.91 4.7 1 of 6 (16.7%)
ตัวอย่าง การแปลผลตาราง
(อ.พิชิต)
เพื่อพิสูจน์ว่าตัวแปรสองตัว มีความสัมพันธ์กัน (Association, Relationship) หรือไม่ (ไม่เป็นอิสระต่อกัน)
ความสัมพันธ์เชิงบวก เช่น ตั้งทฤษฎีว่า ประสบการณ์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ ประสิทธิภาพการทำงาน
ความสัมพันธ์เชิงลบ เช่น ตั้งทฤษฎีว่า ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์เชิงลบกับ ทัศนคติต่ออาชีพราชการ
ความสัมพันธ์ไม่กำหนดทิศทาง เช่น ตั้งทฤษฎีว่า ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับ การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ไม่นิยมใช้ใน เพราะผลการวิจัยมักจะนำไปใช้ต่อไม่ได้ ไม่รู้จะจัดการต่ออย่างไร
ถ้าคำถาม สัมพันธ์กันอย่างไร แสดงว่าอยากรู้ทิศทาง ต้องทบทวนวรรณกรรมเพื่อสามารถกำหนดทิศทางของสมมติฐาน
เช่น เพศ X (ชาย / หญิง) การเรียนต่อ Y (เรียน / ไม่เรียน / ยังไม่ทราบ) ใช้คำถามปลายปิด
เช่น ประสบการณ์ X (ปี) ประสิทธิภาพการทำงาน Y (คะแนน)
Pearson��s r Coefficient (สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน)
เป็น เครื่องวัดความแกร่งของความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง (strength of association) ระหว่าง 2 ตัวแปรปริมาณ
r คือ รากกำลังที่สอง ของสัมประสิทธิ์บ่งบอก (coefficient of determination , r2)
การตีค่าสัมประสิทธิ์ r มีได้ทั้งความสัมพันธ์เชิงบวก และเชิงลบ
r = 0.00 ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตัวแปร (No correlation) r = .60 มีความสัมพันธ์ปานกลางค่อนข้างสูง
.10 มีความสัมพันธ์ ต่ำมาก .70 ค่อนข้างสูง
.20 ต่ำ .80 สูง
.30 ปานกลางค่อนข้างต่ำ .90 สูงมาก
.40 , .50 ปานกลาง 1.00 ความสัมพันธ์สมบูรณ์ (Perfect correlation)
Pearson��s r เป็นสถิติพรรณนาข้อมูล (descriptive statistic) ว่าข้อมูลมีลักษณะอย่างไร ตัวแปร 2 ตัวสัมพันธ์
กันอย่างไร แต่ไม่ได้เป็นการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับประชากร
ต้องทดสอบว่าตัวแปรมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติก่อน จึงนำมาคำนวณค่าความแกร่ง
ถ้าคำนวณค่าความแกร่งก่อน ค่าที่ได้แม้ไม่เท่ากับศูนย์ (ใกล้เคียงศูนย์) อาจไม่มีนัยสำคัญทางสถิติก็ได้
ต้องเป็นตัวแปรปริมาณ ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มจากประชากร (random sample) และการกระจายค่าตัวแปรสม่ำเสมอ
ตั้งเป็นชื่อกลางๆ (X , Y) ไม่ใช้ ��สูง มาก นาน บ่อย�� ในชื่อตัวแปร
โดยตั้งจากทิศทางการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรทั้งสองว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวก (ไปด้วยกัน X Y ) X + Y
หรือ มีความสัมพันธ์เชิงลบ (ตรงข้ามกัน X Y ) X - Y หรือ มีความสัมพันธ์ไม่ระบุทิศทาง
ตั้ง H1 , Ha (alternative hypothesis) จากสมมติฐานการวิจัย และ ตั้ง H0 (null hypothesis) ตรงข้ามกับ H1
H1 H0
การทดสอบหางเดียว (one-tailed test)
ความสัมพันธ์เชิงบวก r > 0 r 0
ความสัมพันธ์เชิงลบ r < 0 r 0
การทดสอบสองหาง (two-tailed test)
ไม่ระบุทิศทาง r 0 r = 0 H0 : r จะต้องมี = 0 เสมอ
t คำนวณ =
(observed t)
r^ = 0 ; t = 0 r close to zero ; t close to zero , accept H0
r^ ++ ; t ++ or r^ - - ; t - -
t-distribution (in normal curve)
t วิกฤต (critical t)(จากตาราง Critical value of t ) โดยมี degree of freedom (df.) = n-2
ใช้ค่า สำหรับการทดสอบหางเดียว และ /2 สำหรับการทดสอบสองหาง
= .05 หมายถึง ถ้าทดลองเหมือนกัน 100 ครั้ง จะมีโอกาสที่สรุปผิด ได้ 5 ครั้ง
นำ t คำนวณ มาเปรียบเทียบกับ
t วิกฤต (in normal curve) ว่าอยู่ในช่วง
ปฏิเสธ (reject) H0 หรือยอมรับ (accept)
H0
- ตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์เชิงบวก(ลบ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .05 และมีความแกร่งสูง (r = .80)
- ตัวแปรทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .05 (ห้ามบอกความแกร่ง) หรือ
ไม่มีข้อมูลสนับสนุนสมมติฐานการวิจัยที่ว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์เชิงบวก(ลบ)
(ณ ระดับ .05)
.
สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ และความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับประกฎการณ์ต่างๆ โดยกรอบแนวคิดและสมมติฐาน ในการวิจัยยังไม่มีการทราบมาก่อน หรือยังไม่ชัดเจน ไม่ใช่การเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเดียว แต่มีการสร้างกรอบแนวคิดด้วย
การเก็บข้อมูล เขียนรายงาน และวิเคราะห์ข้อมูลเป็นลักษณะพลวัตต่อเนื่อง
ขั้นตอนการทำวิจัยต่างจากการวิจัยเชิงปริมาณที่มีขั้นตอนกำหนดล่วงหน้า เช่น กำหนดสมมติฐาน เก็บข้อมูล ทดสอบวิเคราะห์
สร้างความเข้าใจในปรากฏการณ์อย่างเจาะลึก (in depth)
วิธีการเก็บข้อมูล เป็นการเก็บข้อมูลในพื้นที่ ��การวิจัยภาคสนาม (Field research)��
ก่อนเข้าไปทำงานวิจัยสนาม ต้องศึกษาและทำความคุ้นเคยกับสิ่งที่จะไปศึกษา จากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการเตรียมตัวอื่นๆ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มบุคคลหรือสถานที่ที่จะเข้าไปทำการวิจัย รวมทั้งก่อนเข้าพื้นที่อาจต้องขออนุญาตเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือฝ่ายบุคคล
จดบันทึกอย่างสม่ำเสมอ ไม่ทำแบบรวบยอด เขียนบันทึกเหตุการณ์ที่เป็นรูปธรรม และเก็บรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ให้มากที่สุดและรวดเร็วที่สุดภายหลังการเกิดเหตุการณ์ โดยจำแนกสิ่งที่เป็นคำพูดโดยตรง ������ กับสิ่งที่จำได้
การตีความและการวิเคราะห์ควรบันทึกแยกไว้เป็นอีกหมวดหนึ่ง ความรู้สึกส่วนตัวควรบันทึกไว้ด้วย เช่น ความชอบไม่ชอบ
ในการบันทึกแต่ละครั้งควรพิจารณาว่าลืมเรื่องอะไรหรือไม่ มีข้อมูลอะไรที่ต้องหาเพิ่มเติม ประเด็นที่จะถามต่อไปในวันรุ่งขึ้น
หลักจากบันทึกแล้วควรจัดพิมพ์และเก็บอย่างเป็นระบบ โดยแยกออกเป็นแฟ้ม เช่น บันทึกวิเคราะห์ บันทึกสังเกตภาคสนาม
การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์เชิงตรรกะ
คือ ความพยายามที่จะตั้งสมมติฐานและหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล โดยการกำหนดตัวแปรที่เป็นปัจจัยสาเหตุ หรือตัวแปรต้น (Independent variable) และปัจจัยที่เป็นผลตามมา หรือตัวแปรตาม (Dependent variable)
จนกระทั่งหาข้อยุติที่มีความสอดคล้องหลายตัวได้ เปรียบเสมือนนักเดินป่าที่ต้องคอยสอดส่องเส้นทางตลอดเวลา
เพื่อนำมาทดสอบอีกครั้ง ให้ได้ผลสรุปที่ชัดเจน
เกณฑ์การกำหนดความแม่นตรง (Validity)
ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้กับประชากรได้หรือไม่
ผลสรุปที่ได้จากการสังเกต
เป็นข้อสังเกตที่ถูกต้องหรือไม่
มีความผิดพลาดในกระบวนการที่สะท้อนถึงความลำเอียงหรือไม่
All Rights Reserved Powered by Free Document Search and Download
Copyright © 2011